ผอ.เขตพระนคร พร้อม สก. ลงพื้นที่บ้านคุณยายวัย 87 ชุมชนท่าวัง ที่ทรุดลงแม่น้ำเจ้าพระยา พบเสียหายทั้งหลัง เบื้องต้นเตรียมมอบเงินเยียวยาผู้ประสบภัย 49,500 บาท และค่าเช่าบ้านเดือนละ 3,000 บาท

วันที่ 2 ม.ค. 2567 จากกรณีเกิดเหตุบ้านเรือนประชาชนที่ปลูกอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดทรุดตัวลงแม่น้ำ โดยคุณยายเจ้าของบ้านวัย 87 พักอยู่คนเดียว โดยคุณยายเจ้าของบ้านวัย 87 พักอยู่คนเดียว ผอ.เขตพระนคร พร้อม สก. เข้าดูแลให้ช่วยเหลือเยียวยา

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายเหตุบ้านทรุดตัวลงแม่นํ้าเจ้าพระยา ภายในซอยชุมชนท่าวัง เขตพระนคร กทม. เหตุเกิดเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 1 ม.ค. 2567 โดยพบว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา มีสภาพเอนเอียงพื้นทรุด เสาบ้านขาด ทําให้ข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องครัวจมลงไปกับนํ้าทั้งหมด

จากการสํารวจความเสียหายเบื้องต้น พบว่า มีพัดลม 6 ตัว ถังแก๊ส เตาแก๊ส และเครื่องครัว รวมไปถึงของใช้ต่างๆ จมหายไปกับนํ้า โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันนําสิ่งของมีค่าและสิ่งของที่จําเป็นออกมาจากตัวบ้าน ส่วนครอบครัวต้องไปพักอาศัยอยู่กับลูกสะใภ้ย่านบางบัวทอง จ.นนทบุรี

ส่วนสาเหตุคาดว่า บ้านหลังดังกล่าวอยู่มานานกว่า 40 ปี มีการซ่อมแซมและต่อเติมมาโดยตลอด ล่าสุดปีที่แล้วมีการต่อเติมเสาให้สูงขึ้นเพื่อหนีนํ้า เนื่องจากที่ผ่านมาทุกๆปีได้รับผลกระทบจากปัญหานํ้าท่วมเข้าภายในตัวบ้าน แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด รู้เพียงแค่ว่าในแม่นํ้าเจ้าพระยามักจะมีคลื่นแรงกระทบเข้ามาที่บริเวณตัวบ้านอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ทําให้ห้องนํ้าพังลงไปทั้งหมด หลังจากนี้ยังไม่ทราบว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อ เนื่องจากบ้านพังเสียหายทั้งหมดไม่สามารถอยู่ต่อได้ และเกรงจะได้รับอันตราย ขณะที่ครอบครัวก็ไม่มีเงิน

ด้านนายโกศล สิงหนาท ผู้อํานวยการเขตพระนคร พร้อมด้วยนางสาวศศิธร ประสิทธิ์พรอุดม สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตพระนคร และเจ้าหน้าที่สํานักการโยธา ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบรายละเอียด พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัย

เบื้องต้นจากการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุพบว่า มีความเสียหายทั้งหลัง ดังนั้น สํานักงานเขตพระนครจะมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจํานวน 49,500 บาท พร้อมค่าเช่าบ้านเดือนละ 3,000 บาท ระหว่างรอการก่อสร้างบ้านพักให้ใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนกําลังพลทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือในการก่อสร้าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ครอบครัวผู้ประสบภัยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม

ส่วนประเด็นที่บ้านหลังดังกล่าวอยู่นอกพื้นที่เขตแนวกั้นเขื่อนริมแม่นํ้าเจ้าพระยานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ฝ่ายกฎหมายเข้าไปตรวจสอบรายละเอียด แต่ทราบว่าที่ผ่านมาทางผู้ประสบภัยมีการเสียภาษีให้กับกรมเจ้าท่าอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นพื้นที่เก่าแก่ ซึ่งตามระเบียบสํานักงานเขตสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยได้