ฉลุย! กฤษฎีกาเคาะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต คาดหารือกรรมการชุดใหญ่ นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ สัปดาห์หน้า

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งคำตอบกรณีคำถามของคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 1 หมื่นบาท(คณะกรรมการฯ) ผ่านโครงการเติมเงิน 10,000 บาท Digital Wallet (ดิจิทัลวอลเล็ต) กลับมายังกระทรวงคลังแล้ว

ซึ่งคำตอบของกฤษฎีกา ระบุว่า เป็นไปตามอำนาจของรัฐมนตรี และคณะกรรมฯ.ที่จะดำเนินการกู้เงินตามพ.ร.บ.กู้เงินฯ เพื่อทำโครงการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท Digital Wallet โดยมีข้อสังเกตุบางข้อ เช่น การออกต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.วินัยการเงินฯ มาตรา 53 และมาตรา 57 รวมต้องมีการทำความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งขั้นตอนจากนี้ไปต้องจะมีการนัดหมายคณะกรรมการฯ เพื่อดำหน้าโครงการฯ เมื่อประชุมได้ข้อสรุปครบถ้วนแล้ว จะข้อความกรุณาเลขากฤษฎีกา ที่อยู่ในคณะทำงานด้วยให้ช่วยสรุปในเรื่องคำตอบ หรือข้อสังเกตของกฤษฎีกา ว่าจะมีมติเดินหน้าอย่างไรต่อไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม

"สรุปได้ว่า กฤษฎีกาตอบกลับมาว่าสามารถทำได้ โดยมีข้อสังเกตว่าต้องเป็นไปตามกฎหมาย เช่น ต้องเป็นเรื่องของสถานการณ์วิกฤตไม่สามารถไม่สามารถตั้งงบประมาณได้ เรื่องความความคุ้มค่าของโครงการ การประเมินผลก่อนและหลัง และต้องทำการรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน ซึ่งอาจะต้องมาดูจะต้องทำกลไกลอย่างไรในการทำความคิดเห็นประชาชน หรือจากหน่วยงานใดๆ"

สำหรับการประชุม ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะกำหนดขึ้นวันไหน แต่เห็นว่า ควรจะมีขึ้นภายในสัปดาห์หน้า

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ มองว่าวิฤกตและจำเป็นต้องกู้เงินหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันอยู่แล้วเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ค่อนข้างเปราะบาง พี่น้อยประชาชนมีความเดือนร้อน และไทยติดหล่มเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามกรอบเวลา

"สถานการณ์ขณะนี้ หลายฝ่ายเรียกร้องตรงกันว่า รัฐบาลต้องกระตุ้นเศรษฐกิจได้แล้ว แต่กลไกลทั้งหมดเมื่อมีข้อสังเกตมาจากกฤษฎีกา จากนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมฯ รัฐบาลในการหาคำตอบ ความชอบเรื่องรายละเอียดครบถ้วนเพื่อชี้ต่อสังคมว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นไปตามกรอบของกฎหมายหรือไม่"

เมื่อถาม ว่า ใคร หรือหน่วยงานใดจะเป็นผู้ตอบคำถามว่า เศรษฐกิจไทยวิกฤตหรือไม่มีวิกฤต ซึ่งนายจุลพันธ์ ระบุว่า ณ ขณะนี้ไม่มีใคเป็นคนชี้ว่าวิกฤตหรือไม่ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล กระทรวงคลัง และคณะกรรมการฯ ต้องหาคำตอบที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้สุกงอมและวิกฤต หรือไม่อย่างไร

อย่างไร นายจุลพันธ์ กล่าวย้ำว่า รัฐบาลจะพยามสูงสุดให้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ถึงมือประชาชนตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้คือ ภายในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้