ส่องนโยบายประชานิยม 11 พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลเศรษฐา จะมีโอกาสเป็นไปได้ หรือใช้เพื่อการโฆษณาเท่านั้น

26 ส.ค. 66 ย้อนไปช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองก็ประกาศนโยบายต่างๆ ออกมามากมาย โดยจุดขายสำคัญก็คือ นโยบายในแบบประชานิยม ซึ่งมีทั้งที่พอมีความเป็นไปได้ และก็เซอร์เรียลไปไกลอย่างสุดกู่

ซึ่ง 11 พรรคการเมือง ร่วมรัฐบาลเศรษฐา ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้ประกาศนโยบายประชานิยมต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้

พรรคเพื่อไทย (141 ที่นั่ง)
1. เงินดิจิทัล 10,0000 บาท
2. ค่าแรงขั้นต่ำ 600 ต่อวัน ภายในปี 2570
3. ปริญญาตรี เงินเดือน 25,000 บาท ภายในปี 2570
4. ลดค่าไฟ ค่าน้ำมัน ทันที
5. ทุกครอบครัว มีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน (1 ครอบครัว 1 Soft Power)
6. พักหนี้เกษตรกร 3 ปี พักหนี้ SME 1 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

พรรคภูมิใจไทย (71 ที่นั่ง)
1. เงินกู้ฉุกเฉิน 50,000 บาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ ไม่ต้องค้ำประกัน
2. ฟรี หลังคาโซล่าเซลล์ ลดค่าไฟฟ้า หลังคาครัวเรือนละ 450 บาท
3. มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ผ่อนเดือนละ 100 บาท 60 งวด
4. พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอกคนละไม่เกิน 1 ล้านบาท
5. เกษตรกรร่ำรวย รู้ราคาก่อนปลูก รับเงินก่อนขาย เสียหายมีหลักประกัน
6. เพิ่มค่าตอบแทน อสม. เป็นเดือนละ 2,000 บาท
7. ฟรี กองทุนประกันชีวิต อายุ 60 ปีขึ้นไป ตายได้ 100,000 บาท กู้ได้ 20,000 บาท

พรรคพลังประชารัฐ (40 ที่นั่ง)
1. เพิ่มวงเงิน บัตรประชารัฐ (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) 700 บาท
2 เงินกู้เพื่อประกอบอาชีพ ผู้ถือบัตรประชารัฐ (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) วงเงิน 50,000 บาท
3. ประกันชีวิต ผู้ถือบัตรประชารัฐ (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) หากเสียชีวิตจ่าย 2 แสนบาท
4. สวัสดิการผู้สูงอายุ / อายุ 60 ปี รับ 3,000 บาท / 70 ปี รับ 4,000 บาท / 80 ปีขึ้นไป รับ 5,000 บาท
5. ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ลดทันที
6. “แม่ บุตร ธิดา ประชารัฐ” อายุครรภ์ 5 เดือน ถึงใกล้คลอด รับเดือนละ 10,000 บาท หลังจากคลอดรับ 3,000 ต่อเดือน เป็นเวลา 6 ปี

พรรครวมไทยสร้างชาติ (36 ที่นั่ง)
1. เพิ่มสิทธิบัตรสวัสดิการพลัส (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) เป็น 1,000 บาท/เดือน
2. สิทธิบัตรสวัสดิการพลัส (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) ใช้สิทธิกู้ฉุกเฉินได้อีก 10,000 บาท/คน
3. เบี้ยผู้สูงอายุคนละ 1,000 บาท เท่ากันทุกช่วงอายุ
4. เพิ่มเงินช่วยดูแลบุตรแรกเกิดถึง 10 ปี เดือนละ 1,000 บาท (สำหรับแรงงานในระบบประกันสังคม)
5. ไฟฟ้าราคาถูก สำหรับผู้มีรายได้น้อย

พรรคชาติไทยพัฒนา (10 ที่นั่ง)
1. แจกพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 60 ล้านไร่
2. ขยายเขตไฟฟฟ้าทั่วประเทศ ค่าไฟ 2 บาทต่อหน่วย
3. สุขภาพดีมีเงินคืน 3,000 บาท
4. เบี้ยคนพิการ 3,000 บาท

พรรคประชาชาติ (9 ที่นั่ง)
1. เริ่มตั้งครรภ์ถึงอายุ 7 ปี เงินอุดหนุนถ้วนหน้า 4,500 บาท ต่อเดือน
2. อายุ 8–15 ปี เงินอุดหนุนถ้วนหน้า 3,000 บาท ต่อเดือน
3. สวัสดิการผู้สูงอายุถ้วนหน้า 3,000 บาทต่อเดือน

พรรคชาติพัฒนากล้า (2 ที่นั่ง)
1. ลดภาษีบุคคล เงินเดือน 40,000 บาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี
2. น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ถูกลง
3. ยกเลิกแบล็กลิสต์บูโร

พรรคเพื่อไทยรวมพลัง (2 ที่นั่ง)
1. เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี

พรรคเสรีรวมไทย (1 ที่นั่ง)
1. เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี
2. ยกเลิกหนี้ กยศ.
3. บำนาญประชาชน 3,000 บาท ต่อเดือน
4. เบี้ยผู้พิการ 3,000 บาท ต่อเดือน
5. น้ำมัน ไฟฟ้า ราคาถูก

พรรคท้องที่ไทย 1 (ที่นั่ง)
1. เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ

พรรคพลังสังคมใหม่ (1 ที่นั่ง)
1. จ่ายเงินให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยเดือนละ 3,000 บาท
2. กองทุนกู้วิกฤตธุรกิจรายย่อย วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท
3. ปุ๋ยคนละครึ่ง
4. นิรโทษกรรม ผู้ติดเครดิตบูโร

นโยบายประชานิยม และความเป็นไปได้ ในรัฐบาลเศรษฐา

ถ้าอิงจากโผ ครม. ล่าสุด ที่ “พรรคเพื่อไทย” ในฐานะแกนนำฯ ได้โควต้ารัฐมนตรี ทั้งกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและปากท้อง ก็คาดว่าจะมีความพยายามทำให้นโยบายประชานิยมต่างๆ ของพรรค ถือกำเนิดเกิดขึ้นได้

หลักๆ เลยก็คือ นโยบายเงินดิจิทัล 10,0000 บาท ที่ “เพื่อไทย” ต้องพยายามผลักดันให้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อลดกระแสความไม่พอใจของประชาชน อันเนื่องมาจากการตั้งรัฐบาลสลับขั้ว โดยมีพรรค 2 ลุง เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งนโยบายดังกล่าวก็ต้องใช้เงินสูงกว่า 5 แสนล้านบาท

และอีกนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือ การลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน โดยอยู่ในความดูแลของ “กระทรวงพลังงาน” ที่คาดว่า “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” จาก “พรรครวมไทยสร้างชาติ” จะได้เป็นรัฐมนตรี

โดยแกนนำของพรรคดังกล่าวหลายคน ก็เคยอยู่ใน “รัฐบาลบิ๊กตู่” และได้ดูแล “กระทรวงพลังงาน” แต่ปัญหาค่าไฟแพง ค่าน้ำมันแพง ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งก็ต้องลุ้นกันต่อไปว่า ในรัฐบาลเศรษฐา จะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือไม่