สถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 25 ธันวาคม 2563 ทั้งสิ้น 10,147 ราย มากกว่าปี 2562 จำนวน 2,505 ราย คิดเป็น 32.78%

สถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 25 ธันวาคม 2563 ทั้งสิ้น 10,147 ราย มากกว่าปี 2562 จำนวน 2,505 ราย คิดเป็น 32.78%

1.ข่มขืน จำนวน 863 ราย เฉลี่ยวันละ 2.4 ราย
เปรียบเทียบกับปี 2562 (786 ราย) มากกว่า 77 ราย คิดเป็นมากกว่า 9.8%
ผู้กระทำ
อันดับ 1. คนรู้จัก/แฟน/เพื่อน 340 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 43.26%
อันดับ 2. ญาติ/คนในครอบครัว/พ่อเลี้ยง 241 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 30.6%
อันดับ 3. คนข้างบ้าน 44 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 5.60%

ผู้ถูกกระทำอายุน้อยสุด 2 ปี 10 เดือน ถูกคนข้างบ้านเป็นชาย อายุ 40 ปี เหตุเกิด จ.เพชรบูรณ์

ผู้ถูกกระทำอายุมากสุด 70 ปี ถูกน้องชายสามี อายุ 40 ปี กระทำ เหตุเกิด จ.ปราจีนบุรี

*ข้อสังเกตและน่าเป็นห่วง เด็กวัยแรกเกิด–5 ปี ถูกข่มขืน 28 ราย, เด็ก 5–10 ปี ถูกข่มขืน 94 ราย

2.ทารุณกรรม จำนวน 1,077 ราย เฉลี่ยวันละ 3 ราย
เปรียบเทียบกับปี 2562 (1,049 ราย) มากกว่า 28 ราย คิดเป็นมากกว่า 2.67 %
ผู้กระทำ
อันดับ 1. สามีทำร้ายร่างกายมากที่สุด 305 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 28.31%
อันดับ 2. แฟน/เพื่อน 166 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 15.41%
อันดับ 3. ญาติ 128 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็น 11.88%

*ข้อสังเกตและน่าเป็นห่วง เด็กถูกกระทำเป็นทารก–5 ปี 62 ราย, เด็ก 5- 10 ปี 88 ราย

3.ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี 83 ราย (รวมทั้งแจ้งเบาะแส) เฉลี่ย 0.28 ราย ต่อวัน
เปรียบเทียบกับปี 2562 (119 ราย) ลดลง 36 ราย คิดเป็นลดลง 30.25 %
3.1 ในประเทศ 38 ราย เป็นลักษณะแจ้งเบาะแสเด็กถูกเพื่อนชักชวนไปค้าประเวณี
3.2 ต่างประเทศ 45 ราย กรณีที่ผู้หญิงถูกหลอกค้าประเวณีในต่างประเทศต้องการกลับประเทศไทยซึ่งตกค้างการแพร่ระบาดของโควิด-19
3.3 ประเทศที่ขอความช่วยเหลือ บาร์เรน 8 ราย / ดูไบ 5 ราย / โอมาน 4 ราย / เกาหลีใต้ 2 ราย / ตุรกี 2 ราย / ญี่ปุ่น 1 ราย และเป็นประเทศต่างๆ อีก 1 ราย รวม 23 ราย

เนื่องจากปี 2563 เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ และปิดสถานบริการ ประกอบกับรัฐบาลกวดขันปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ ค้าประเวณีอย่างจริงจัง

4.ปัญหาครอบครัว 1,909 ราย ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 5.30 ราย
เปรียบเทียบกับปี 2562 (2,328 ราย) ลดลง 419 ราย คิดเป็นลดลง 18%
เนื่องจากมูลนิธิปวีณา แยกปัญหาครอบครัวออกมาเป็น ปัญหายาเสพติด จึงทำให้ปัญหาครอบครัวลดน้อยลง นอกจากนี้ปัญหาครอบครัว

5.ปัญหายาเสพติด มูลนิธิปวีณาฯ ได้แยกปัญหายาเสพติดออกมาเป็นกรณีเฉพาะโดยเริ่มจากปี พ.ศ.2563 เป็นปีแรก จำนวน 294 ราย ผู้ติดยาเสพติดก็คือ ผู้ค้ารายย่อย หรือเรียกว่า Direct Sale ของขบวนการค้ามนุษย์ ดังนั้นขอให้รัฐบาลเร่งฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้เป็นรูปธรรม และเร่งหามาตรการป้องกันอย่างเด็ดขาด

6.ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ขอความช่วยเหลือมูลนิธิปวีณาฯ 3,088 ราย มูลนิธิปวีณา ได้ประสานงานกับภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ประชาชน สื่อมวลชน และพม. 702 ราย ผู้แทนรัฐบาลใต้หวัน 500 ราย เพจอีจัน 2,180 ราย ชมรมศิษย์เก่าสตรีวรนาถ 500 ราย

มูลนิธิปวีณาฯ ขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ที่ได้ร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันจนสามารถช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณพลเมืองดีที่ช่วยกันแจ้งเบาะแส ร่วมกันให้ข้อมูลช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะปัญหาสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดงานหนึ่ง หากทุกคนช่วยกันปัญหาทุกอย่างจะเบาบางลงไปได้

สุดท้าย เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ 2564 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเป็นกำลังใจให้ประชาชนทุกท่านได้รอดพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 และมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุข มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

มูลนิธิปวีณาฯ ขอเรียนว่า จะปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค 63 – 3 ม.ค 64 รวม 5 วัน หากท่านใดมีเรื่องด่วนขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อส่งข้อความมายังเฟสบุ๊คมูลนิธิปวีณาฯได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง