สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดโรดแมประบบการคาดการณ์ฝุ่นเฉพาะจุด พร้อมออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่น

นักวิชาการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. จัดเสวนา แนวทางการ แก้ปัญหาฝุ่นละอองพิษ PM 2.5 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย

ศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ว่า ในระยะยาวต้องจัดเก็บภาษีฝุ่น หยุดมลพิษ ใช้แนวคิดการใช้ภาษีสิ่งแวดล้อมจูงใจ ทั้งผู้ประกอบการ และประชาชน เพื่อลดการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ในประเทศไทย อยู่ในขั้นตอนการเสนอมาตรการเรียกเก็บภาษีมลพิษ และ จะออกมาบังคับใช้ในอนาคต รวมทั้งนวัตกรรมรถไฟฟ้า ควรพัฒนาและนำมาใช้ในประเทศไทย เพื่อลดฝุ่นโดยนำร่องในหน่วยงานรัฐก่อน

ด้านรองศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ เปิดเผยว่า ขณะได้ออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กในเขตพื้นที่เมือง สามารถเฝ้าระวังจุดเสี่ยง โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีการจราจรแออัด

โดยจะประยุกต์จาก จุดรอรถเมล์ที่มีอยู่ โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่นละออง และพัดลม เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก หากเซ็นเซอร์ตรวจจับ แจ้งว่า ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในบริเวณนั้นสูงกว่ามาตรฐาน ระบบพัดลมจะทำงานอัตโนมัติ พร้อมติดตั้งป้ายแจ้งเตือนบอกคุณภาพอากาศโดยรวมของกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ ยังสามารถพัฒนาและปรับปรุงต่อ เพื่อให้เป็นสมาร์ท บัส สตอป (Smart Bus Stop) เช่น มีฟังก์ชั่นเรียกรถพยาบาล หรือตำรวจ จอป้ายแจ้งเตือนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคน (Interactive Panels) ขณะนี้อยู่ระหว่างจะดทำโมเดลต้นแบบ

นักวิชาการออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะ เตือนภัยฝุ่น