ชาวประมงเลี้ยง กุ้ง - ปลา ในจังหวัดสมุทรสงคราม เกิดความกังวล หลังพบปลาจาระเม็ดน้ำจืดในลุ่มน้ำแม่กลอง จึงเกรงว่า จะเข้าไปกัดกิน กุ้ง ปลา ที่เลี้ยงไว้ ล่าสุดประมงจังหวัด ชี้แจงยังไม่พบปลาประเภทดังกล่าว ในบ่อกุ้ง

จากกรณีที่มีชาวบ้านพบปลาเปคูแดง หรือ ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ในลุ่มน้ำแม่กลอง บริเวณคลองทับแถบ หมู่ 4 ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเขตเชื่อมติดต่อกันได้ ทำให้ผู้ประกอบอาชีพทำประมงเลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้ง กลัวว่า หากปลาดังกล่าว หลุดเข้าไปอยู่ตามบ่อจะไปกินสัตว์เลี้ยง กุ้ง -ปลาได้

เพราะปลาเปคูแดง เป็นปลาอยู่ในกลุ่มปลาปิรันย่ามีลักษณะแตกต่างมีลักษณะฟันเป็นฟันตัด มี สองแถว และเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกประเภท ส่วนใหญ่กินตัวอ่อนแมลง แมลงน้ำและพืชอาหารเป็นหลักนั้น

นาง ศศิวิมล เปาลิวัฒน์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวยืนยันว่า จากการตรวจสอบของสถานีวิจัยและพัฒนาประมงทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม ยังไม่พบปลาเปคูแดง ในบ่อกุ้ง หรือ วังปลา ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และจากการพิสูจน์พบว่า ปลาประเภทนี้กินพืชเป็นส่วนใหญ่

โดยปลาเปคูแดง เป็นปลาที่ไม่อันตราย ไม่ดุร้าย กินเนื้อสัตว์บางเป็นบางครั้งบางคราวและเปลือกหอย แต่เมื่อมีการถูกรบกวนจะป้องกันตัวเหมือนกับปลาดุร้าย เป็นสัญชาตญาณเมื่อถูกคุกคาม **เมื่อปี 2539 กรมประมงนำมาส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว เมื่อนำไปปรุงอาหารรสชาติดี มีราคาสูง 300-400 บาท และพบว่าปลาชนิดนี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ในประเทศไทย การเพาะขยายพันธุ์ต้องอาศัยเทคนิคการผสมเทียม เท่านั้น

ทั้งนี้ หลังจาก สำนักงานประมง ได้ออกมาชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชนได้รับทราบ คาดว่า จะสามารถคลายความกังวลให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ได้ แต่หากผู้ประกอบการ หรือ ประชาชน มีข้อสงสัยสามารถมาสอบถามเจ้าหน้าที่ประมง จังหวัด - อำเภอ - ตำบล ได้

สำหรับ ปลาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลุ่มน้ำอเมซอน และ แม่น้ำโอริโนโคใน ประเทศอาร์เจนตินา ส่วนในประเทศไทย จะอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำโขง และ แม่น้ำเจ้าพระยา

ชาวประมงเลี้ยง กุ้ง-ปลา กังวล หลังพบ ปลาจาระเม็ดน้ำจืดจำนวนมาก