พระพุทธะอิสระ ยื่นหนังสือถึงสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนทูลถวายสมเด็จพระสังฆราชเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ปีละ 23 ล้านบาท // ขณะที่ สตง.คาดใช้เวลาตรวจสอบ 1 เดือน

พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม หรือ พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์และทีมกฎหมาย เดินทางเข้ายื่นหนัง สือต่อซึ่งนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.ให้ตรวจสอบการใช้เงินอุดหนุนศาสนกิจในส่วนของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ปีละกว่า 23 ล้านบาท ผ่าน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พศ. โดยได้นำหลักฐานพร้อมประเด็นข้อสงสัย ถึงความไม่โปร่งใสมาแสดง โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงิน ตั้งแต่ปี 2556

ขณะที่สมเด็จพระญาณสังวรทรงประชวร แต่กลับพบว่ามีการเบิกจ่ายเงินออกไปใช้ และพบว่ามีการส่งเงินอุดหนุนให้กับบางวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวัดที่ใกล้ชิดกับมหาเถรสมาคม พร้อมกันนี้ยังขอให้ตรวจสอบมหาวิทยาลัยของสงฆ์ ทั้งสองแห่ง ที่พบว่ามีการเบิกเงินซื้อตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศด้วย โดยพระพุทธอิสระ ขอให้ สตง. ตอบกลับเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อที่จะส่งเรื่อง ปปช. ตรวจสอบต่อไป โดยมีประเด็นหลักๆ 6 ประเด็น

ดังนี้ 1. นับแต่ปี พ.ศ.2547 ซึ่งมีการตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ใครเป็นผู้ลงนามขออนุมัติเบิกจ่าย // 2. ภายหลังสำนักงบประมาณ อนุมัติเงินแล้ว ใครเป็นผู้ลงนามถือจ่าย // 3. เมื่อสำนักงานพระ พุทธศาสนาแห่งชาติได้รับเงินอุดหนุนฯ มาแล้ว ได้ทูลถวายสมเด็จพระสังฆราชเมื่อใด // 4. ในช่วงปี พ.ศ.2556 ถึงปัจจุบันได้จำหน่าย จ่าย โอน ให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชหรือไม่ // 5. เงินอุดหนุนฯ ได้ทูลถวายสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่ และ 6. ระเบียบในการเบิกจ่าย เป็นไป

โดยถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ด้านนายพิศิษฐ์ กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการตรวจสอบในทุกประเด็น ซึ่งคาดว่าใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนจึงทราบผล เพราะปกติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องมีบัญชีรายจ่ายเงินจำนวนนี้ว่านำไปใช้จ่ายอะไรอยู่แล้ว ส่วนการตรวจสอบเงินอุดหนุนวัด ที่ผ่านมาเคยมีการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีเงินหมุนเวียนกว่า 90 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องให้ ปปช.ตรวจสอบแล้ว ส่วนความคืบหน้าเรื่องคดีการถือครองรถเบนซ์ของสมเด็จช่วงนั้น

นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตร การปกป้องพิทักษ์พระพุทธศาสนา สปช. กล่าวยืนยันว่า ผู้ใดที่รับของที่ยังมิได้เสียภาษี ก็ถือว่ามีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ดังนั้นการที่ สมเด็จช่วง มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้นอยากให้ทีมทนายไปดูข้อกฎหมายให้ดี อย่าทำให้สมเด็จช่วงเข้าใจผิด และนึกว่าจะไม่มีปัญหาทางกฏหมาย // ส่วนกรณีที่ทนายความ พยายามดำเนินการฟ้องร้องกับอู่วิชาญ น่าจะเป็นความพยายามกลบเกลื่อน หวังว่าให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ดังนั้นท่าทีของทีมทนายจึงเหมือนมีการใช้เทคนิคเหมือนที่นักการเมืองใช้พลิกแพลงในดคีต่างๆ แต่พอมาใช้กับสมเด็จช่วง เลยทำให้ภาพเสีย จึงขอเตือนด้วยความหวังดี