พบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่จังหวัดนครราชสีมา มีอายุประมาณ 115 ล้านปีก่อน และสมเด็จพระเทพฯ มีพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ว่า “สิรินธรน่าโคราชเเอนซิส”
นี่คือฟอสซิลชิ้นส่วนกะโหลก // ขากรรไกรบน-ล่าง // ฟัน // และชิ้นส่วนอื่นๆ รวม 19 ชิ้น ของไดโนเสาร์สายพันธุ์อิกัวโนดอนต์ สายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่ขุดพบจากแหล่งบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารีจังหวัดนครราชสีมา
โดยซากฟอสซิลที่พบมีอายุประมาณ 115 ล้านปีและมีความแตกต่างจากไดโนเสาร์สายพันธุ์อิกัวโนดอนต์ 2 สกุล ที่พบในโคราชก่อนหน้านี้ เช่น มีขากรรไกรล่าง ที่มีอัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงน้อยกว่า 'ราชสีมาซอรัส' หรือมีขากรรไกรบนทรงต่ำ หรือลาดเอียดมากกว่า 'สยามโมดอน'
ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณในวโรกาส 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามของพระองค์ เป็นชื่อสกุลว่า “สิรินธรน่า” ส่วนชื่อชนิดใช้ชื่อโคราชซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ คือ โคราชแดนซิส รวมเป็นชื่อทางการว่า “สิรินทรน่าโคราชแอนซิส” มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง ประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร หนักประมาณ 1 ตัน
สำหรับการขุดค้นครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากประเทศไทย และนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น
โดยศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์โยอิชิ อะซูมา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไดโนเสาร์ มหาวิทยาลัยฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้า และคณะทีมวิจัยฟอส
ซิลไดโนเสาร์จากแหล่งบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยเริ่มวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่นี้ได้ ที่สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ซึ่งทางสถาบันฯ ได้จำลองโครงกระดูกเต็มตัวจัดแสดงไว้ในโซนจัดแสดงไดโนเสาร์ รวมทั้งได้จัดแสดงฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ และฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่ขุดพบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา กว่า 1 หมื่นชิ้นด้วย