'ทนายอนันต์ชัย' เผย ม.พิษณุโลก ฟ้อง 'สำนักข่าวอิศรา' นำเสนอข่าวไร้จรรยาบรรณ พร้อมฟ้อง ก.อุดมศึกษาฯ ด้วย นำเอกสารราชการเผยเเพร่ ผิด ม. 164-86 หลังเผยเเพร่ข่าวถอดถอน 51 ผศ.-รศ.
วันที่ 14 ธ.ค. 2564 ที่มหาวิทยาลัยพิษณุโลก นายสุนทร รักเลี้ยง ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและอุปนายกสภามหาวิทยาลัยพิษณุโลก และทนายอนันต์ชัย ไชยเดช ในฐานะที่ปรึกษาและทนายความของมหาวิทยาลัยพิษณุโลก พร้อมด้วยคณาจารย์จำนวน 51 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยพิษณุโลก เข้าร่วมการแถลงข่าวจากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยพิษณุโลก และมีการสั่งการถอดถอน 51 ผศ.และ รศ. ทั้งที่ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ไม่พบว่าการกระทำทุจริต
ทนายอนันต์ชัย เปิดเผยถึงขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งวิชาการ พ.ศ.2557 ซึ่งอาศัยตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาพ.ศ.2546 มาตรา 48 พร้อมเอกสารและผลงานตามที่กำหนด ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย ประธานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีรายชื่อของ สกอ.และเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่ง 13 คนแรก ได้ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นครั้งแรก แต่มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ตั้งแต่ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าประธานจะต้องเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย และล่าสุดมีคณาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มรวมแล้วทั้งหมด 51 คน ซึ่งทำผลงานทางวิชาการด้วยตนเองและไม่ได้ลอกผลงานทางวิชาการ และผู้ที่จะอนุมัติตำแหน่งทางวิชาการให้ได้คือ สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลก จึงอนุมัติให้โดยสุจริต ไม่มีการทุจริต
ทั้งนี้ เปรียบเทียบ สกอ.เป็นพ่อบ้าน มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเป็นลูกบ้าน สกอ.ควรที่จะแนะนำให้ทางมหาวิทยาลัยทำให้ถูกต้อง ซึ่งถ้าเป็นทางกฎหมายเป็นการกระทำโดยขาดเจตนา ไม่มีความผิด สกอ.ในฐานะพ่อบ้านมีหน้าที่ตรวจสอบ ว่าการแต่งตั้งมีความบกพร่องหรือไม่อย่างไร เพราะตำแหน่งทางวิชาการมีการโปรดเกล้าฯ ด้วย ซึ่งหาก 13 คนแรกมีความบกพร่อง สกอ.ก็มีความบกพร้อมด้วย เพราะมีการแต่งตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558
ทนายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า มูลเหตุของเรื่องนี้เกิดจาก นาย ว. เป็นคนของ สกอ. มีความอยากเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ซึ่งเป็นผู้รู้ข้อบกพร่องในเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ทักท้วงตรวจสอบให้มหาวิทยาลัยเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง ตั้งแต่ 13 คนแรก แต่นาย ว.ได้แจ้งกับมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ให้แต่งตั้งตนเองเป็นประธานสภาและจะแก้ไขปัญหาให้ทำให้ถูกต้อง ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพิษณุโลกไม่ยินยอมทำตามข้อเสนอของ นาย ว. เขาจึงประกาศว่า จะแขวนคณาจารย์ชุดแรก 13 คน และชุดหลังอีก 38 คน รวม 51 คน เมื่อ พศ.2563 ด้วยเงื่อนไขเดียวกันคือ ประธานคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ไม่ได้มาจากการสรรหาของ กรรมการสภามหาวิทยาลัย
เมื่อทางมหาวิทยาลัยทราบจึงขอถอดถอนเรื่องทั้ง 38 คน กลับมาทบทวน และยังไม่ยอม แต่งตั้งนาย ว. ตามความต้องการจึงสร้างความโกรธเคือง หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2564 มหาวิทยาลัยพิษณุโลกจึงได้รับหนังสือ ระบุว่า มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ตำแหน่งทางวิชาการ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งไม่พบการแสวงวหาผลประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างไร แต่กลับไม่แถลงผลการตรวจสอบ
ต่อมาวันที่ 3 ต.ค. 2564 สำนักข่าวอิศรา ได้เขียนข่าวเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ว่าผลสอบลับ ม.พิษณุโลก ถูกสั่งถอนตำแหน่ง ผศ. รศ. 51 ราย เจอทำรายงานเท็จ ทนายอนันต์ชัย ตั้งคำถามว่า สำนักข่าวอิศรามีจรรยาบรรณสื่อมวลชนหรือไม่ ที่เขียนข่าวแบบนี้ และที่สำคัญมีการนำเอาเอกสารทางราชการของทางมหาวิทยาลัยพิษณุโลก มาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ตนเองจะแจ้งความดำเนินคดีตามมาตรา 164 และ 86 เพราะเป็นสนับสนุนให้เจ้าพนักงานกระทำความผิด และอาจจะมีความผิดตามมาตรา 188
ทั้งนี้ จะขอหมายศาลเรียกหนังสือร้องเรียนที่กล่าวหาว่า มหาวิทยาลัยพิษณุโลก แสวงหาผลประโยชน์ตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งผู้ร้องเรียนก็จะถูกดำเนินคดี แจ้งความเท็จตามมาตรา 137 ด้วย การติดต่อเข้ามาเพื่อขอพูดคุยจากสำนักข่าวอิศราเมื่อวานนี้ จึงไม่สามารถเจรจาได้
ทนายอนันต์ชัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยพิษณุโลก กำลังดำเนินการการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ให้ถูกต้อง ซึ่งจะถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับปรากฏว่า คณะกรรมการอุดมศึกษา มีมติให้สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลก ถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก จำนวน 51 ราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 มาตรา 84 วางหลักไว้ว่า ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใด ไๆม่ปฏิบัติตามหลักเกรณ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการเตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ตามที่แจ้งไปภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นมติให้ถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 51 ราย ตามหนังสือ ที่ อว.0203.4/353 ลงมันที่ 19 ต.ค. 2564 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 วางหลักไว้ว่า ถ้าปรากฏภายหลังว่า เจ้าหน้าที่หรือกรรมการ ในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งวเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่
การที่สำนักปลัดกระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อ้างเหตุผลเกี่ยวกับผู้ที่เป็นประธานที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยพิษณุโลก และบางคำสั่งไม่มีเลขานุการ จึงไม่ใช่สารถสำคัญในการแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ ส่งผลให้สำนักปลัดกระทรวงศึกษาวิยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวถอดถอนทั้ง 51 รายได้