กรมเจ้าท่า เทศบาลเมืองกันตัง เตรียมปรับปรุงพัฒนาท่าเรือพาณิชย์เทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งเลิกใช้แล้ว เป็นท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของตรังอีกแห่ง
นายสรนนท์ จิโรจน์วิโรจน์มนตรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกันตัง พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมปรับปรุงพัฒนาท่าเรือพาณิชย์เป็นท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของตรังอีกแห่ง ที่ห้องประชุม สำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง เนื่องจาก ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังได้ทำสัญญาเช่าอาคารท่าเทียบเรือสะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศ รวม 3 แห่ง กับ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ จ.ตรัง คือ 1.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศ 2.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศ 3.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศแต่ในสถานการณ์ปัจจุบันท่าเทียบเรือต่างประเทศทั้ง 3 แห่ง ที่ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังเช่าไว้นั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการขนถ่ายสินค้าแล้ว
ดังนั้น ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังและทางสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาตรังมีความเห็นร่วมกันว่าควรปรับปรุงท่าเทียบเรือต่างประเทศแห่งหนึ่งแห่งใดใน จำนวน 3 แห่ง เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นสะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวของอำเภอกันตัง โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองเก่ากันตังให้เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามันทั้งนี้ก็เพราะว่าการเข้าถึงเมืองเก่ากันตังทั้งทางรถไฟและทางเครื่องบินสะดวกรวดเร็ว อีกประการหนึ่งในปีงบประมาณ 2565 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 80 ล้านบาทพัฒนาเมืองเก่ากันตังอีกด้วยโดยจะพัฒนาเริ่มจากร้านอาหารริมน้ำเดิมไปจนถึงอาคารหอประวัติศาสตร์กันตัง
การพิจารณาคัดเลือกท่าเทียบเรือต่างประเทศในจำนวน 3 แห่งนำมาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียว ใช้ท่าเทียบเรือต่างประเทศทางทิศใต้ หมายเลข 3 ขนาดพื้นที่กว้าง 24.50 เมตร ยาว 90.00 เมตร มาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวของอ.กันตัง จ.ตรัง โดยให้สำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง หรือสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตรัง เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายงบประมาณ โดยใช้งบประมาณของกรมเจ้าท่าในการออกแบบก่อสร้างปรับปรุงสะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศหมายเลข 3 ขนาด กว้าง 24.50 เมตร ยาว 90.00เมตร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเป็นท่าเทียบเรือที่มีมาตั้งแต่ในอดีต เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในภูมิภาคนี้ โดยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ปัจจุบันทั้ง 3 สะพานเลิกใช้ เพราะสถานการณ์การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศลดลงอย่างมาก ประกอบกับภาคเอกชนลงทุนสร้างท่าเทียบเรือเป็นของตนเอง 4 แห่ง ของเทศบาล 1 แห่ง (3 สะพาน) กรมเจ้าท่าและอบจ.ตรัง 1 แห่ง รวม 6 แห่ง สำหรับสะพานหมายเลข 3 มีความเหมาะสม ที่จะปรับปรุงเป็นท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวของตรังอีกแห่งหนึ่ง
ทั้งนี้ทางด้าน บริษัทประชารัฐรักสามัคคีตรัง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตรัง ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าจะนำรายงานการประชุมการปรับปรุงท่าเรือพาณิชย์กันตังหมายเลข 3 นำมาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร )และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดตรัง ในโอกาสต่อไป
ด้านนายสรนนท์ จิโรจน์มนตรี นายกเทศมนตรี กล่าวว่า การประชุมหลายฝ่ายในวันนี้ได้ข้อสรุปที่จะพัฒนาสะพานท่าเทียบเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศแห่งนี้มีการใช้มาร้อยกว่าปี ปัจจุบันท่าเทียบเรือแห่งนี้มีความสำคัญน้อยลง คือมีสินค้าน้อย อีกทั้งเอกชนไปสร้างท่าเทียบเป็นของตนเอง ดังนั้นเราจะพัฒนาท่าเทียบเรือแห่งที่ 3 เป็นท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยว โดยร่วมพัฒนากับบริษัทประชารัฐตรัง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กรมเจ้าท่าและธนารักษ์พื้นที่ตรัง อีกทั้งปีนี้ได้งบโยธาและผังเมืองมาปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือกันตัง จุดเริ่มต้นจากร้านอาหารริมน้ำไปจนถึงอาคารหอประวัติศาสตร์ งบ 80 ล้านบาทและพัฒนาเกาะเนรมิตอีกด้วย การพัฒนาปรับปรุงท่าเรือแห่งนี้เพื่อการท่องเที่ยวจะต้องหารือกับทางผู้ว่าฯตรัง เพื่อให้กรมโยธาและผังเมือง รวมถึงกรมเจ้าท่าจะออกแบบอย่างไรเพื่อให้เกิดความสวยงาม การเดินทางจากสนามบินตรังมาถึง ท่าเรือกันตัง 22 กิโลเมตร ส่วนรถไฟก็มาสุดปลายทางที่สถานีกันตัง จะนำเรื่องนี้เข้าประชุม กรอ.จังหวัด ท่าเรือแห่งนี้สามารถเดินทางโดยเรือไปฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมดเพื่อการท่องเที่ยว