ระอุไม่แผ่ว!! ค่าดัชนีความร้อน วันนี้ กทม. ทะลุ 51.6 องศาฯ พร้อมเตือน ฉ.1 "พายุฤดูร้อน" 23-26 เม.ย.นี้ ทั่วไทยอากาศร้อน-ร้อนจัด

วันที่ 22 เม..66 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ระบุว่า ในช่วงวันที่ 23 - 26 เมษายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ระหว่างวันที่ 21-23 เม.ย. 66

จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด (°C) รายภาค

  • วันที่ 22เม.ย. 66 ได้แก่ เพชรบูรณ์ (40.7 องศาเซลเซียส) โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม (41  องศาเซลเซียส) บางนา กทม. (51.6 องศาเซลเซียส) ชลบุรี (53.8 องศาเซลเซียส) ภูเก็ต (49.5 องศาเซลเซียส)
  • วันที่ 23 เม.ย. 66 ได้แก่ เพชรบูรณ์ (46.5 องศาเซลเซียส) โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม (44.3 องศาเซลเซียส) บางนา กทม. (51.3 องศาเซลเซียส) สัตหีบ ชลบุรี (52.0 องศาเซลเซียส) ภูเก็ต (54 องศาเซลเซียส)

ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่

ระดับเฝ้าระวัง 27-31.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนออกกำลังกาย หรือ ใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

ระดับเตือนภัย 32-40.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตราย 41-53.9 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดท้องเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดดได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตรายมากมากกว่า 54 องศาเซลเซียส

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)