ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่น PM 2.5 ในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่  เริ่มขยับสูงขึ้นและเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ 3 อำเภอ คือ  ฮอด เชียงดาว และ แม่แจ่ม ที่ค่า ฝุ่นPM 2.5 อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบกับสุขภาพ  โดยแอปพลิเคชั่น Air4Thai  รายงานค่า ฝุ่น PM 2.5 ใน ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว สูงกว่า   196 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตำบลหางดง อำเภอฮอด 183 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจม 13 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

ขณะที่สภาพอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่ก็เริ่มได้รับผลกระทบ มีค่า ฝุ่นPM 2.5 อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ  เช่น ตำบลช้างเผือก พบค่า ฝุ่นPM 2.5  สูงกว่า 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  ตำบลศรีภูมิ 68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยหากมองลงมาจากตึกมุมสูง และจุดชุมวิวทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จะเห็นได้ว่ามีปริมาณหมอกควันPM2.5ล้อมรอบเมืองเชียงใหม่และทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นได้ไม่ไกลมากนัก

 

ส่วนแอปพลิเคชั่น AirVisual ที่ตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศเมืองสำคัญทั่วโลก ล่าสุดเมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ ( 14 กุมภาพันธ์ )  พบว่า AQI หรือ ค่าความเข้มข้นของคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ สูงกว่า 167 AQI   อยู่ในอันดับ 4 ของโลก สาเหตุที่ทำให้ฝุ่นควันพิษพุ่งสูงเกินมาตรฐานหลายพื้นที่เพราะยังพบการลักลอบเผาป่าหลายจุด

     

โดยที่ศูนย์บัญชาการฯ เชียงใหม่ ได้รายงานการตรวจพบจุดความร้อน  ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบจุดความร้อน จำนวน 120 จุด อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ 64 จุด มากที่สุดคือพื้นที่ อ.ฮอด 19 จุด รองลงมา อ.จอมทอง 17 จุด และจุดความร้อนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 51 จุด มากที่สุดคือพื้นที่ อ.ดอยเต่า 18 จุด นอกจากนี้ยังมีจุดความร้อนอยู่ในพื้นที่เขต สปก.ในพื้นที่ อ.แม่แจ่มอีก 5 จุด

 

อย่างไรก็ตามพื้นที่เกิดไฟป่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตอนใต้ได้แก่ พื้นที่ อ.ฮอด อ ดอยเต่า และ อ.จอมทอง พี่ยังคงลุกไหม้และลุกลามอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายวัน ซึ่งห่างเจ้าหน้าที่ก็ได้มีการระดมกำลังชุดเสือไฟเดินเท้าเข้านำไฟป่าและระดมกำลังเฮลิคอปเตอร์เข้าไปบินโปรยน้ำดับไฟป่ากันอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ทำให้ยอดจุดร้อมร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงปัจจุบัน ทั้งหมดจำนวน 2391 จุด