สวยสมชื่อทะเลตรัง เมืองหลวงแห่งพะยูน! ทช.บินสำรวจพบพะยูน 140-170 ตัว โลมาหลังโหนก 27 ตัว เต่าทะเล 141 ตัว สุขภาพสมบูรณ์
 
 
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565 กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนล่าง ร่วมกับศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก สำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายากในทะเลตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) ด้วยเครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และวิธีการสำรวจทางเรือโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร นาย Eduado Angelo Loigorri และคุณภิญญดา ภิธัญสิริ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ และหมู่เกาะใกล้เคียง
 
 
ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบ พะยูน 140-170 ตัว (พะยูนคู่แม่-ลูก 15-20 คู่) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific Humpback Dolphin, Sousa chinensis) 27 ตัว และเต่าทะเล 141 ตัว
 
 
ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่า พะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล และพฤติกรรมการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบ พะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ รวมถึงโลมาหลังโหนกและเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ
 
 
ส่วนข้อมูลจากการสำรวจจะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณทะเลตรังต่อไป