นักเขียนเบสต์เซลเลอร์ หวั่นพิธาเป็นนายกฯ ซ้ำรอยม็อบในจีน แต่ปริญญาฟันธง กกต.ถอย

16 มิ.ย. 66 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าจากกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สิน และ หนึ่งในนั้นคือการยื่นเอกสารถือครองหุ้น บ. itv จำกัด (มหาชน) ในนามผู้จัดการมรดกซึ่งมีเอกสารทางราชการคือคำสั่งศาล และหนี้การค้ำประกันตามที่ได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนไปแล้วก่อนหน้านี้จากการตรวจสอบพบว่าเป็นการยื่นก่อนเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่ปี 62 ซึ่งเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามปกติ และได้มีการยื่นเข้ามาเพิ่มเติมเป็นใบหุ้นของ itv ที่มีเอกสารระบุชื่อเป็นของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จำนวน 42,000 หุ้น มูลค่าประมาณ 42,000 บาท ซึ่งมีหมายเหตุกำกับและเอกสารประกอบคือคำสั่งศาล เมื่อประมาณเดือนมีนาคมปี 2550 ที่ได้ระบุว่า ให้นายพิธาเป็นผู้จัดการมรดกส่วนการโอนหุ้นของนายพิธานั้น ป.ป.ช.ก็จะต้องตรวจสอบด้วยเช่นกันว่ามีการโอน เรียบร้อยเมื่อไหร่ โอนก่อนหรือโอนหลังพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งต้องดูว่าหลังจากพ้นตำแหน่งทรัพย์สินดังกล่าวยังอยู่หรือไม่ ถ้าพ้นแล้วแต่ทรัพย์สินยังอยู่ก็ต้องยื่น แต่ถ้าพ้นแล้วทรัพย์สินไม่อยู่ก็ไม่ต้องยื่นตามกฎหมาย แต่ถ้ามีเหตุสงสัย อาจจะแค่สอบถาม เพราะหุ้นดังกล่าวมีมูลค่าเพียงกว่า 40,000 กว่าบาท ถ้าเทียบกับสัดส่วนที่ยื่นมาซึ่งเป็นทรัพย์สินจากการเป็นผู้จัดการมรดกรายการอื่น ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เล็กน้อยมาก

ส่วนกรณีการเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะมีคำสั่งศาล มีเอกสารอื่นประกอบด้วยหรือไม่ เลขา ป.ป.ช.ชี้แจงว่า จะต้องมีการตรวจสอบคำสั่งศาล ว่าเป็นสำเนาหรือต้นขั้ว เนื่องจากการตรวจสอบพบว่ามีเอกสารที่เกี่ยวข้อง 5 ชุด แล้วพบว่าเป็นเอกสารตั้งแต่ปี 2550 ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ ในการตรวจสอบ เนื่องจากทางราชการปกติแล้วเอกสารจะต้องทำลายเอกสารในเวลา 10 ปี ซึ่งการจะไปค้นข้อมูลเก่าของแต่ละหน่วยงานอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก และได้รับการแจ้งว่าอยู่ระหว่างการตรวจค้นยังหาไม่เจรจาเลขา ป.ป.ช.กล่าวอีกว่า ล่าสุดได้รับแจ้งจากทางศาล พบว่าการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผู้ใดคัดค้าน เพิ่งจะต้องไปดูว่าในพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้ใครบ้าง เพราะว่านายพิธา อาจจะมีหน้าที่แค่เป็นคนแบ่งทรัพย์สินให้กับทายาท ซึ่งในประเด็นดังกล่าว ป.ป.ช. ไม่ได้ขอเอกสารดังกล่าว เพราะไม่เกี่ยวกับ ป.ป.ช. เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช.มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ณ วันที่เข้าและพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น

 

เมื่อถามว่าในทางกฎหมายหุ้นตัวนี้ยังไม่ถือว่าเป็นของนายพิธา 100% ใช่หรือไม่ ​ เลขา ป.ป.ช. กล่าวว่า ยังไม่สามารถพูดได้ ต้องไปตรวจสอบ ซึ่ง ป.ป.ช. จะรู้เพียงว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่ง มีทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งนายพิธา ได้ยื่นในฐานะเป็นผู้จัดมรดกให้ ป.ป.ช. แล้วเมื่อตอนเข้ารับตำแหน่ง ส่วนเขาจะมีการแบ่งสมบัติกันอย่างไร หรือทรัพย์สินตกเป็นของใครบ้างต้องดูพินัยกรรม ซึ่งหากไม่มีพินัยกรรมก็ต้องดูรายละเอียดการแบ่งทรัพย์​สินอีกครั้ง ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่มีส่วนในเรื่องนั้นเมื่อถามว่านอกจาก ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้วในฐานะทายาท นายพิธา มีสิทธิ์ได้รับมรดกส่วนนี้หรือไม่ นายนิวัติไชย กล่าวว่า ต้องไปตรวจสอบ ว่า มีพินัยกรรมหรือไม่ และพินัยกรรมระบุว่าให้ทรัพย์สินแก่ใครบ้าง และหากมีหลายอย่างก็จะมีการจัดตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อเคลียร์ทรัพย์สินและแบ่งแยกให้ถูกต้อง อีกกรณีคือไม่มีพินัยกรรมหรือระบุไม่ชัดเจน ว่าทรัพย์สินจะยกให้ใคร เนื่องจากในครอบครัวมีพี่น้องหลายคน ผู้จัดการมรดกก็ต้องมานั่งคุยว่าจะแบ่งให้ใครบ้าง ถึงจะจัดการโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปให้ส่วนการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ อดีต ส.ส. กรณีพ้นจากตำแหน่งนั้นได้ยื่นมาแล้ว ร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือขอขยายระยะเวลา ซึ่งจะสิ้นสุดใน 18 มิ.ย. นี้


ด้าน ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีการถือหุ้นไอทีวี ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ว่า โดยหลักของกฎหมายมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์ ถือว่าตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่ง ก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของ จนกว่าจะมีการแบ่ง ดังนั้นมาตรา 1615 จึงวางหลักไว้ว่าถ้ามีการสละมรดก ถือว่าย้อนหลังไปวันที่เจ้ามรดกตาย ส่วนสาเหตุที่ไม่มีผลตั้งแต่สละมรดกเพราะกฎหมายถือว่าไม่ได้แบ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อสละก็ถือว่าไม่มีมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นกรณีของนายพิธา ที่ถือครองหุ้นไอทีวีใน 2 ฐานะคือผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการถือแทนทายาททั้งหมด ในขณะเดียวกันก็เป็นทายาทด้วย แต่ในเมื่อหลักกฎหมายมรดกถือว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงก็ไม่ถือว่าหุ้นไอทีวีเป็นของนายพิธาเมื่อมีการโอนให้ทายาทคนอื่นก็จบ และถึงไม่โอนก็จบเพราะ ไม่ได้เป็นเจ้าของมรดกได้มาตั้งแต่แรก เพียงแต่เป็นการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่ต้อง แบ่งมรดกให้กับทายาทซึ่งไม่ได้หมายความว่าทรัพย์เดียวกันต้องแบ่งให้ทุกคนสามารถจัดสรรได้ ซึ่งตามหลักกฎหมายมรดกถ้าไม่มีการแบ่งก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของมรดกชิ้นใดมาตั้งแต่แรก ถ้าว่ากันตามกฎหมายไม่ใช่การจะเอาผิดให้ได้ ส่วนนายพิธา จะต้องมีเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมว่าได้มีการสละทรัพย์ไปตั้งแต่แรกหรือไม่นั้น นายปริญญาระบุว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่ที่ กกต. หากจะเดินหน้าดำเนินคดีกับนายพิธาตามมาตรา 151 จะต้องเชิญนายพิธาไปแจ้งข้อหานี้ พร้อมแสดงหลักฐานว่าเหตุใดถึงแจ้งข้อหานี้ เพื่อให้นายพิธาสามารถชี้แจงแสดงหลักฐานหักล้างได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการไปให้ข้อมูลจะต้องมีทั้งสองประเด็นคือประเด็นที่ระบุว่าไอทีวีไม่ใช่สื่อ ซึ่งเรื่องนี้ยังมีข้อพิรุธเพราะทั้งรายงานเรื่องงบการเงินและรายงานการประชุมหากดูตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่ศาลยกคำร้องของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 29 คน หากเทียบเคียงกันแล้วไอทีวีแม้มีวัตถุประสงค์เป็นสื่อโทรทัศน์แต่ไม่ได้ประกอบการและมีรายได้ รวมถึงกรณีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 400 หุ้นน้อยเกินกว่าจะมีบทบาทในการสั่งให้สื่อทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ส่วนกรณีของนายพิธาสัดส่วนของหุ้นเพียง 0.0035% ถือว่าน้อยมากจนไม่สามารถขออะไรได้เลย และถือในฐานะผู้จัดการมรดก หากยึดตามบรรทัดฐานนี้ เรื่องนี้ยกคำร้องและไม่ต้องดำเนินคดีใดๆแต่กกต.กลับไปสรุปว่าไอทีวีเป็นสื่อและนายพิธาถือหุ้นจึงดำเนินการตามมาตรา 151 ซึ่งปกติแล้ว กกต.ไม่เคยดำเนินการก่อนที่ศาลจะยุติเรื่องว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามหรือไม่ นอกจากนี้ยังเทียบเคียงกับกรณีของนายธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกวินิจฉัยในประเด็นการถือหุ้นบริษัท วีลักซ์ มีเดียซึ่งท้ายที่สุดอัยการก็สั่งไม่ฟ้อง เพราะเห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอเพราะหากเขารู้ว่าจะถูกตีความว่าเป็นสื่อมวลชนก็ต้องสละไปก่อน จะมาสมัครให้ตัวเองเดือดร้อนทำไม กรณีนายพิธาก็ทำนองเดียวกัน และคิดว่าเรื่องนี้คงไปไม่ถึงขั้นที่อัยการสั่งฟ้อง และกกต.อาจจะถอยด้วย

 


ขณะที่ทันตแพทย์สม สุจีรา โพสต์ เทียบทิม พิธา เหมือนจอห์น เอฟ เคเนดี้ โยงปมหยกแต่งไปรเวทไป รร.ทันตแพทย์สม สุจีรา นักเขียนชื่อดังได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ ผู้นำประเทศ”เว็บเพจนี้ ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่วิเคราะห์ตามความเป็นจริงบทความที่แล้ว ได้วิเคราะห์ไปแล้วว่า คุณทิม พิธา เหมือนกับ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ตรงไหนมาวันนี้ ได้อ่านข่าวนักเรียนหญิงเตรียมพัฒน์ฯ ย้อมผมเป็นสีแสบตา ก้าวร้าวครู ปีนรั้ว ถีบหน้าต่าง แถม ปลุกระดมเพื่อนๆ ให้แหกกฎโรงเรียนในฐานะ ผู้เขียน มีบ้านอยู่ตรงข้าม เตรียมพัฒน์ฯ ขอบอกว่า โรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ติดอันดับ หนึ่งในสิบของประเทศ ถ้าไม่มีกฎระเบียบ จะปกครองคนหมู่มากได้อย่างไร หลังข่าวออก ส.ส.ก้าวไกล ออกมาโจมตีโรงเรียนทันที นี่ขนาดยังไม่ได้เป็นรัฐบาล ยังกร่างขนาดนี้ ไปอ่านประวัติศาสตร์หลายๆชาติ ช่วงเปลี่ยนผู้นำนี่อันตรายมากแม้แต่จีน ก็เคยเกือบพลาดพลั้งในครั้งแรก พรรคคอมมิวนิสต์จีน วางแผนจะให้ "จ้าว จื่อ หยาง" ขึ้นมาปกครองประเทศ การที่เขา ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนหนทางในอนาคตแจ่มใสมาก หลายคน คงจำเหตุการณ์ ประท้วงที่เทียนอันเหมินได้คนรุ่นใหม่ กับ นักศึกษาจีน ถูก CIA ปั่นหัว รวมตัวกันประท้วงครั้งใหญ่( CIA ร้ายขนาดไหน ย้อนไปอ่านบทความเมื่อวาน)ปรากฏว่า จ้าว จื่อ หยาง ไปเข้ากับฝ่ายนักศึกษา เฉยเลยถือโทรโข่ง ประกาศสนับสนุนการประท้วง บอกนักศึกษาไม่ต้องห่วง จะไม่มีการปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐ เชิญประท้วงตามสบายบรรดากรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตกตะลึง รีบประกาศกฎอัยการศึกปลดจ้าวจื่อหยาง และจับคุมขังในฐานะนักโทษทันที >> คิดดูว่า ถ้าจ้าวจื่อหยาง ได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน เติ้ง เสี่ยว ผิง จีนทุกวันนี้ จะเป็นเช่นไร>>> เช่นเดียวกัน คนไทยในอนาคต อาจจะตั้งคำถามว่า ถ้าวันนั้น ทิม พิธา ได้เป็นนายก ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

 

 

ไทยซ้ำรอยม็อบจีน พิธา เป็นนายกฯ ?