'เอิร์ธ พงศกร' โพสต์เเจง 10 ภาพ ข้อเท็จจริง โครงการปรับปรุงคลองช่องนนทรี หลังเกิดดรามาหนัก บิดเบือนข้อมูล

 

กรณีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เเละศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาฯ (UDDC) ออกมาชี้เเจงต่อสังคมว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการปรับปรุงคลองช่องนนทรี จากการมีการเผยเเพร่ข้อมูลที่บิดเบือนในโลกออนไลน์ (อ่านประกอบ : ทีดีอาร์ไอ-UDDC เเจงสังคม ไม่เกี่ยวข้องออกเเบบ 'โครงการปรับปรุงคลองช่องนนทรี')

ล่าสุด ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง อดีตโฆษกกรุงเทพมหานคร สมัย พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ชี้เเจงผ่านเฟซบุ๊ก ว่าผมขอยืนยันในข้อเท็จจริงของข้อมูลในโพสต์นี้ ดังนั้น หากมีผู้ใดทำให้ได้รับความเสียหายจากการใส่ความ หรือบิดเบือนข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเผยแพร่โดยตรง หรือเผยแพร่ซ้ำผ่านการแชร์

ผมขอรักษาสิทธิ์และใช้สิทธิ์ไปตามกระบวนการยุติธรรม และขอเชิญชวน ทุกคนมาทำความเข้าใจอีกครั้งกับ “10 ความเข้าใจผิดของคลองช่องนนทรี”

 

 

ที่เห็นอยู่คือ 80 ล้าน​ !
ต้องชี้แจงอย่างงี้ครับว่าส่วนที่เห็นคือลานกิจกรรมที่เป็นเพียง 5% ของโครงการทั้งหมด ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท

 

02. ราวกันตก และ skywalk
ภาพสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีที่มีราวกันตกทำจากเหล็กข้ออ้อยที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม จริง ๆ แล้วในช่วงนั้นสวนยังไม่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ แต่เป็นเทศกาล เราจึงเปิดให้ใช้พื้นที่เป็นชั่วคราว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตลอดเวลา แต่ตอนนี้ได้ติดตั้งราวกันตกใหม่ที่ปลอดภัยและสวยงาม และเป็น skywalk ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะ และได้ติดป้ายชี้แจ้งว่าอยู่ระหว่างดำเนินการและใช้เป็นการชั่วคราว

 

03.การแก้ไขน้ำมีกลิ่นเหม็น
จากการเปิดประตูระบายน้ำ ทำให้น้ำที่ตกตะกอน มีการไหลเวียน และในระยะยาวจะใช้น้ำบำบัดจากโรงบำบัดน้ำเสียคลองช่องนนทรี ผลักดันน้ำลงคลอง รวมถึงวางพื้นฐานวงแหวน้ำให้เชื่อมต่อกัน คลองช่องนนทรี-คลองสาธร-สวนลุมพินี-คลองต้นสน-คลองไผ่สิงห์โต-คลองเคย ซึ่งจะช่วยให้น้ำในคลองดีขึ้นทั้งระบบ

 

04 ขวางทางน้ำ
สวนสาธารณะสร้างบนคลอง ไม่กีดขวางทางน้ำ และมีการปรับปรุงท้องคลองที่จะเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ

 

หลายคนสงสัยว่าในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะมีโครงการรถไฟฟ้าหรือไม่ และจะไปกระทบกับโครงการคลองช่องนนทรีเดิมหรือไม่ ตอบตรงนี้เลยครับว่า หากในอนาคตมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขึ้นมา ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาอยู่แล้ว จะเป็นการสร้างบนเลน BRT เพราะฉะนั้นการสร้างระบบขนส่งมวลชนในอนาคตจะไม่กระทบคลองช่องนนทรีแน่นอน แต่กลับจะเพิ่มให้มีการใช้สวนสาธารณะดังกล่าวมากขึ้น

 

06.ความเก่งของผู้ออกแบบ
หลายๆโครงการในเมืองใหญ่มี อ.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกเจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งในไทย และต่างประเทศเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งทุกโครงการของ อ.กชกร เป็นการออกแบบเพื่ออนาคต ตอบโจทย์ทั้งทัศนียภาพความสวยงาม และการใช้งานที่คุ้มค่า เช่น สวนจุฬา 100 ปี

07 รถติด
ไม่เป็นสาเหตุของรถติดอย่างแน่นอน เพราะตัวสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีสร้างอยู่บนคลอง ไม่กินผิวถนน ไม่ขวางทางจราจรและไม่ทำให้รถติด ในทางกลับกันสวนสาธารณะคลองช่องนนทรีมีทางเชื่อมต่อให้คนที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเดินทางเชื่อมต่อได้มากขึ้น

 

08. ไม่ใช่แค่คลองช่องนนทรี แต่เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายคลองอื่น ๆ ด้วย
การพัฒนาคลองช่องนนทรีไม่ได้เกิดประโยชน์เพียงแค่ช่องนนทรีเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาโครงข่ายหลักคลองช่องนนทรี คลองสาทร คลองไผ่สิงโต และคลองต้นสน และใช้ท่อแทนคลอง แยกน้ำดีกับน้ำเสียออกจากกัน เพื่อให้น้ำในคลองมีคุณภาพดีขึ้น และน้ำเสียที่แยกจะถูกส่งเข้าโรงบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ที่สวนลุมพินี

 

09. ผลการศึกษา
โครงการคลองช่องนนทรี แท้จริงแล้วเป็นโครงการที่ถูกพูดถึงมานานกว่า 14 ปี โดยเสนอแนวคิดไว้ว่ากรุงเทพฯ ควรมีการพัฒนา คลองช่องนนทรีและคลองสาทร เนื่องจากเป็นคลองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ย่านสีลม-สาทร-บางรัก ซึ่งเป็นย่าน CBD ของกรุงเทพมหานคร ควรมีภาพลักษณ์ที่ดี สามารถแข่งขันกับเมืองอื่นในต่างประเทศได้ และการพัฒนาคลองช่องนนทรี ส่วนหนึ่งเกิดจากผังแม่บทการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองซึ่งมีการจ้างศึกษา UDDC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร และจากการศึกษาดังกล่าวได้เสนอแนะให้ กทม. ดำเนินการตั้งแต่ปี 2558 จนกระทั่ง กทม. ได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาผลักดันให้สำเร็จ

 

 

ประโยชน์ที่ได้เพิ่มขึ้น
สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี เป็นโครงการฟื้นคืนชีวิตคลอง (Canal Revitalisation) สายแรกของเมืองกรุงเทพฯ และฟื้นความสัมพันธ์เมือง-ระบบนิเวศ ด้วยการใช้ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเมือง (Urban landscape Architecture) ปรับใช้แนวคิดการแก้ปัญหาที่ยึดหลัก ‘เข้าใจ-ประยุกต์-ปรับเปลี่ยน-เลียน-รู้ บทเรียนจากธรรมชาติ (Nature-based Solution)’ เพื่อการออกแบบที่ยืดหยุ่น ยั่งยืน ทำให้คลองได้ทำหน้าที่ทางนิเวศ มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เชื่อมการไหลของน้ำ จัดการการไหลให้สัมพันธ์กับทิศทางน้ำขึ้น-น้ำลง เพิ่มศักยภาพคลองในการกักเก็บ ชะลอ ซึม รองรับ และระบายน้ำฝน ฟื้นฟูตลิ่งริมคลองด้วยการปรับใช้โครงสร้างทางชีววิศวกรรม (Bio-engineering ) เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงฟื้นฟูความสัมพันธ์คนกับคลองให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง