WHO เผยไม่มีประเทศใดในโลกผ่านเกณฑ์มาตรฐาน PM2.5 'บังคลาเทศ' มลพิษทางอากาศมากสุดในโลก ส่วน 'จีน' ดีขึ้นต่อเนื่อง

 

GOLDACH, สวิตเซอร์แลนด์, 23 มีนาคม 2565 - รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2564 จาก IQAir พบว่ามีเมืองเพียงร้อยละ ทั่วโลกที่มีมีระดับคุณภาพอากาศผ่านเกณฑ์ค่าแนะนำคุณภาพอากาศล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในขณะที่ยังไม่มีประเทศใดในโลกที่ผ่านเกณฑ์ค่าแนะนำดังกล่าว รายงานฉบับนี้ได้วิเคราะห์ PM2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศใน 6,476 เมือง จาก 117 ประเทศ ภูมิภาค และเขตแดน

รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2564 ของ IQAir ฉบับนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้เกณฑ์ค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ PM2.5 ฉบับปรับปรุงใหม่ซึ่งได้เผยแพร่ไปเมื่อเดือน ก.ย. 2564 ซึ่งได้ปรับค่าแนะนำของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีจากเดิม 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเป็น ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกว่า PM2.5 เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายที่สุด มีการตรวจวัดอย่างกว้างขวาง และพบว่า PM2.5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคปอด นอกจากนี้ PM2.5 ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนนับล้านคนต่อปี

ข้อค้นพบหลัก

ไม่มีประเทศใดผ่านหลักเกณฑ์ค่าแนะนำ PM 2.5 ฉบับปรับปรุงล่าสุดปี 2564 ของ WHO

มีเฉพาะพื้นที่ในนิวแคลิโดเนีย หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และเปอร์โตริโกเท่านั้นที่ PM 2.5 มีปริมาณไม่เกินค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO

มีเพียง 222 เมืองจาก 6,475 เมืองทั่วโลก ที่ปริมาณมลพิษอากาศไม่เกินค่าแนะนำคุณภาพอากาศ PM2.5 ของ WHO

93 เมือง มีปริมาณ PM2.5 เฉลี่ยรายปีมากกว่า 10 เท่าของค่าแนะคุณภาพอากาศ ของ WHO

ในละตินอเมริกาและแคริบเบียน มีเพียง 12 เมือง (ร้อยละ 7) จาก 174 เมือง ที่ปริมาณ PM2.5 ต่ำกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO

จาก 65 เมืองในแอฟริกา มีเพียงเมืองเดียว (ร้อยละ1.5) ที่ปริมาณ PM2.5 ต่ำกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO

-  จาก 1,887 เมืองในเอเชีย มีเพียง แห่ง (ร้อยละ 0.2 ) ที่ปริมาณ PM2.5 ต่ำกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO

-จาก 1,588 เมืองในยุโรป มีเพียง 55 เมือง (ร้อยละ 3 ) ที่ปริมาณ PM2.5 ต่ำกว่าค่าแนะนำ ของ WHO

-เนื้อหาในรายงานได้ครอบคลุมกว่า 2,408 เมืองในสหรัฐอเมริกาและพบว่าค่าเฉลี่ย PM2.5 เพิ่มขึ้นจาก 9.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น 10.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563  ในขณะที่ลอสแองเจลิสเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กลับพบว่ามลพิษ PM2.5 โดยรวมของเมืองนี้ลดลงร้อยละ เมื่อเทียบกับปี 2563

ทั้งนี้ ประเทศที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุด อันดับแรกในปี 2564 ได้แก่ บังคลาเทศ ชาด ปากีสถาน ทาจิกิสถาน อินเดีย

นอกจากนี้ ยังพบว่า นิวเดลี (อินเดียเป็นเมืองหลวงที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่สี่ ตามด้วยธากา (บังกลาเทศเอ็นจาเมนา (ชาดดูชานเบ (ทาจิกิสถานและมัสกัต (โอมาน)

 

ส่วนคุณภาพอากาศในจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2564 มีเมืองมากกว่าครึ่งในจีนในรายงานนี้มีระดับมลพิษทางอากาศต่ำกว่าปีก่อนหน้า ระดับมลพิษภายในเมืองหลวงของปักกิ่งยังคงเมีแนวโน้มคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมการปล่อยมลพิษและการลดกิจกรรมของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และอุตสาหกรรมการปล่อยมลพิษสูงอื่น ๆ

เอเชียกลางและใต้มีคุณภาพอากาศที่แย่ที่สุดในโลกในปี 2564 และเป็นที่ตั้งของ 46 เมืองจาก 50 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก มีเพียงสองเมืองคือ Zhezqazghan และ Chu (คาซัคสถานที่มีปริมาณPM2.5 ไม่เกินค่าแนะนำด้านคุณภาพอากาศของ WHO 

การตรวจวัดคุณภาพอากาศยังคงมีน้อยในแอฟริกา อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง แม้ว่าเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศมีราคาถูกลง ซึ่งการตรวจวัดคุณภาพอากาศมักจะดำเนินการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและนักวิทยาศาสตร์พลเมือง

แฟรงค์ แฮมเมส ประธานบริหารของ IQAir กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่น่าตกใจคือไม่มีเมืองใหญ่หรือประเทศใดเลยที่มีอากาศที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของประชาชนตามแนวทางค่าแนะนำคุณภาพอากาศล่าสุดขององค์การอนามัยโลก รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าเรายังต้องทำงานอีกมากเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะมีอากาศที่ปลอดภัย สะอาด และดีต่อสุขภาพ ได้เวลาลงมือทำแล้ว

ด้าน อวินาช ชันชาล ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซ อินเดีย กล่าวว่า เราเข้าใจดียิ่งขึ้นว่ามลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของเราอย่างไร รายงานฉบับนี้เป็นเหมือนการปลุกเราให้ตื่นขึ้นมาให้เห็นว่าผู้คนทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงอากาศสะอาด มลพิษทางอากาศ PM 2.5  เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซฟอสซิล การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และกิจกรรมการเกษตร การจัดการกับวิกฤตมลพิษทางอากาศจำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้ นอกจากนี้ การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศยังเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศอีกด้วย การได้หายใจอากาศสะอาดควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน ไม่ใช่อภิสิทธิ์