ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประมวลจริยธรรม สำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

 

ทีมข่าวออนไลน์ช่อง 8 รายงานว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ ประมวลจริยธรรมสำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2564 มาตรา 76 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนด ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 5 ได้กำหนดมาตรฐาน ทางจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างตัน อาศัยอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐาน ทางจริยธรรมว่าด้วยหลักกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการ รักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐาน ทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2563 มีมติให้กรมการปกครอง ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้

ข้อ 1 ประมวลจริยธรรมสำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
พึงปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรม ดังต่อไปนี้

1. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย

(1) เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เคารพในความแตกต่างของการนับถือศาสนา

(2) ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยมีจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย
และดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง ทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับท้องที่

(3) สนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการ องค์กรอิสระหรือองค์กรที่รับผิดชอบ
ในการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม ตามที่กฎหมายกำหนด

2.ชื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ประกอบด้วย

(1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมาตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล และตรวจสอบได้ ไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัย
เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐได้โดยไม่ต้องร้องขอ

(2) มีจิตสำนึกที่ดีโดยคำนึงถึงประเทศชาติ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน  และเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ รับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ มีความพร้อมรับการตรวจสอบและพร้อมที่จะแก้ไขเมื่อเกิดข้อบกพร่อง

3. ยึดมั่นในอุดมการณ์นักปกครอง กล้าตัดสินใจและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ประกอบด้วย

(1) ยึดมั่นในอุดมการณ์นักปกครอง มุ่งมั่นบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อให้ประชาชน
ทุกข์น้อยลง และสุขมากขึ้น ด้วยความจริงใจ เสียสละ ยืดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน

(2) ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง กล้าคัดค้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ยอมกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม กล้าเปิดเผยหรือรายงานการทุจริตประพฤติมิชอบต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

4. คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ ประกอบด้วย

(1) แยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์สวนตน

(2) ละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิซอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการ
อันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม

(3) มีจิตสาธารณะ เสียสละ ร่วมแรงร่วมใจดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เพื่อประโยชน์
ของหมู่บ้าน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ประกอบด้วย

(1) ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน อย่างมีวิสัยทัศน์ มีประสิทธิภาพ
คุณภาพ รวดเร็วทันต่อเวลาและสถานการณ์ คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของประเทศชาติ

(2) ปฏิบัติงานเชิงรุกเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ โดยศึกษางานที่รับผิดชอบให้เกิด
ความเข้าใจชำนาญอย่างถ่องแท้ และปฏิบัติงานโดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ และเงื่อนไขอื่นใด

(3) ปรับปรุงกระบวนการทำงาน วิธีการทำงาน และใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

6. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ประกอบด้วย

(1) เคารพและให้เกียรติประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ
โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของบุคคล

(2) ให้บริการและช่วยเหลือประชาชน ที่มาติดต่อขอรับบริการอย่างเท่าเทียมด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

7. ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ประกอบด้วย

(1) ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี สร้างความเชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน ปฏิบัติต่อประชาชน
ด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน

(2) ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ตามหลักคุณธรรม 4 ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักศาสนา และวิถีวัฒนธรรมมาใช้ ในการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิต

(3) มีความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม

8. เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาตนเอง หมู่บ้าน ชุมชน และประชาชน ประกอบด้วย

(1) ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูน
ศักยภาพและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

(2) พัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน และประชาชน โดยคำนึงถึงพื้นฐานทางขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิสังคม ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และความสอดคล้องกับปัญหาในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข้อ 3 กรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติฝาฝืนประมวลจริยธรรมนี้ อันมิใช่เป็นความผิดทางวินัยหรือความผิดทางอาญา ให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน เป็นหนังสือนำไปประกอบการพิจารณาให้บำเหน็จความชอบหรือสั่งให้ได้รับการพัฒนาตามที่เห็นสมควรการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ อันเป็นเหตุให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จะต้องพ้นจากตำแหน่งหรือออกจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 หรือเป็นความผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 4 การจัดทำกระบวนการรักษาจริยธรรม และแนวทางการปฏิบัติตนสำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามประมวลจริยธรรมนี้ให้เป็นไปตามที่กรมการปกครองกำหนด

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย