กระทรวงสาธารณสุข ย้ำนโยบายฉีดวัคซีนโควิดให้ทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทย ทั้งคนไทย คนต่างชาติ ทุกคนเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ โดยชาวต่างชาติไปฉีดวัคซีน ณ โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือ โทร 1422

1)การฉีดวัคซีนโควิดเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ มีประชาชนซักถามจำนวนมาก นโยบายรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

  • นโยบายจะฉีดวัคซีนให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ที่มีความประสงค์จะฉีด มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม จะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคนโดยความสมัครใจ และในการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศ (Herd immunity) ต้องฉีดครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากร

2) แผนการจัดหาวัคซีน มีประชากรทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่อยู่หรือมีการทำงานต่อเนื่องในไทย รวมทั้งคณะทูตานุทูต ทั้งหมด 70 ล้านคน (เป็นคนไทย 67 ล้านคน และคนต่างชาติอีก 3 ล้านคน) เมื่อคิดยอดที่ต้องฉีดร้อยละ 70 คือ 50 ล้านคน โดย 1 คนฉีด 2 โดส รวมวัคซีน 100 ล้านโดส

3) การที่ฉีดวัคซีนให้กับทุกคนในแผ่นดินไทย ทางรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ำหลายครั้งว่า Nobody is safe until everyone is safe.ทุกคนจะปลอดภัย เราต้องทำให้ทุกคนในแผ่นดินไทยให้ปลอดภัย”

4) การฉีดวัคซีนให้กับคนต่างชาติและคณะทูตานุทูต ยึดหลักการปฏิบัติแบบสากล ด้วยความเคารพและให้เกียรติกันและกัน จะไม่มีใครฉีดก่อนฉีดหลัง เป็นไปตามความสมัครใจ และข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และสาธารณสุข ยืนยันว่าทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทยจะได้ฉีดวัคซีนอย่างพร้อมเพรียงและใกล้เคียงกัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้จัดสถานที่ฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและคณะทูตานุทูต ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดบริการฉีดวัคซีน ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน และเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนเพิ่มที่อาคารบางรัก ซึ่งอยู่ใจกลางเมือง มีรถไฟฟ้าผ่าน เพื่ออำนวยความสะดวกอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากอยู่ใกล้สถานทูตต่างๆ ที่พักอาศัยและที่ทำงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย และเมื่อมีวัคซีนมามากในเดือนมิถุนายนก็จะมีจุดฉีดวัคซีนหลายจุดเพิ่มมากขึ้น

5) วันนี้วัคซีนซิโนแวคเข้ามาในประเทศไทยอีก 1 ล้านโดส ทำให้ในเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ได้รับวัคซีนค่อนข้างมาก โดยจะมีกระบวนการขั้นตอนในการตรวจเชิงคุณภาพ เช่น เอกสาร การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน จากนั้นจะเร่งกระจายวัคซีนไปฉีดให้กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดต่างๆ และจะกระจายวัคซีนไปฉีดเพื่อควบคุมสถานการณ์ในจุดที่มีการระบาด เช่น เขตคลองเตย กทม. ซึ่งเมื่อวานนี้ (5 พฤษภาคม 2564) ได้ฉีดไปแล้วจำนวนมาก

ขอบคุณ นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ