"รัฐสภา" โหวตผ่านร่างรัฐบาล-ฝ่ายค้าน ฉลุยเปิดทางตั้ง ส.ส.ร. ยกร่าง รธน.ใหม่ ขณะ 3 ส.ว. โหวตสวนทางเห็นชอบร่างไอลอว์ แต่ ส.ว.ส่วนใหญ่ไม่กล้าเห็นชอบตัดอำนาจตัวเอง

การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณารับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ  ล่าสุดที่ประชุมรัฐสภามีมติ รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพียง 2 ฉบับ ได้แก่

-         ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ  มาตรา 256 ฉบับ ของฝ่ายค้าน ด้วยคะแนน 576 แบ่งเป็น ส.ส.449 / ส.ว. 127 เสียง  ไม่รับหลักการ  21 คะแนน  งดออกเสียง  123 คะแนน

-         ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ  มาตรา 256 ฉบับพรรคร่วมรัฐบาล ด้วยคะแนนเสียง  647  เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 471 / ส.ว. 176 เสียง  ไม่รับหลักการ 17 เสียง งดออกเสียง  55 คะแนน


ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีก 5 ฉบับ ที่ประชุมมีมติไม่รับหลักการ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ

-    ฉบับของพรรคเพื่อไทย ประเด็นยกเลิกอำนาจ  ส.ว.ในการปฏิรูปประเทศ  มีมติรับหลักการ 213 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 209 ส.ว. 4 เสียง  ไม่รับ 35 เสียง งด 472 เสียง

-    ฉบับของพรรคเพื่อไทย ประเด็น ยกเลิกอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี  มีมติ  รับหลักการ 268 เสียง  แบ่งเป็น ส.ส 212  ส.ว 56  ไม่รับ 20   งด 432

-    ฉบับของพรรคเพื่อไทย ประเด็น ในการยกเลิก อำนาจ  คสช. มีมติรับหลักการ 209 ไม่มี ส.ว. สนับสนุน  ไม่รับหลักการ  51 เสียง งด 460

-   ฉบับของพรรคเพื่อไทย ประเด็นแก้ระบบเลือกตั้งกลับไปใช้แบบบัตร 2 ใบ ของปี 2540 มีมติ รับหลักการ 268 เสียง แบ่งเป็น ส.ส. 209  ส.ว. 59 เสียง ไม่รับ 19 เสียง  งด 432

-   ฉบับของกลุ่มไอลอว์ ที่ประชาชน เข้าชื่อ จำนวน 98,041 คน   มีมติรับหลักการ 212 แบ่งเป็น ส.ส. 209 ส.ว. 3 เสียง   ไม่รับ 139  งด 369 เสียง

โดย ส.ว. 3 คน ที่ลงมติส่วนทาง รับหลักการให้ฉบับไอลอว์  ได้แก่

-         นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
-         นายพิศาล มาณวพัฒน์
-         นายพีระศักดิ์ พอจิต

ขณะที่ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่รับหลักการ เฉพาะ 2 ฉบับแรก ที่แก้ มาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่  มีเพียง ส.ส. ที่ร่วมเคยอุดมการณ์กับ กลุ่ม กปปส. ที่ลงมติไม่รับทุกฉบับ อาทินายชุมพล จุลใส พรรคประชาธิปัตย์ นายณัฐพล ทีปสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ส. พรรครวมพลังประชาชาติไทยทั้งหมด   ส่วน ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน แทบจะทั้งหมดลงมติรับหลักการทุกฉบับเพราะต้องการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้จริง

สำหรับเหตุผลสำคัญที่ ส.ส.พรรครัฐบาล  และ ส.ว. ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขฉบับไอลอว์   ได้แก่

-         มองว่าร่างของไอลอว์เปิดกว้างเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทั้งฉบับซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ศาลเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว
-         ร่างฉบับไอลอว์ยังเปิดกว้างให้สามารถแก้ไขในหมวดที่1 บททั่วไป และหมวดที่ 2 เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้

-         ร่างฉบับไอลอว์มีดารเซ็ตซีโร่ องค์กรอิสระ และศาลรัฐธรรมนูญซึ่งกระทบต่อระบบการตรวจสอบถ่วงดุล
-         ร่างฉบับไอลอว์ มีการยกเลิกกฎหมาย ป.ป.ช. ที่จะทำให้อดีตนักการมืองหลบหนีคดีพ้นผิดได้

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ตั้งกรรมาธิการจำนวน 45 คนขึ้นมาพิจารณาในวาระที่ 2 เป็นเวลา 45 วัน  ก่อนเสนอเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ ในวาระที่ 3 ประมาณดือนมกราคมปี 2564  ทั้งนี้พรรคเพื่อไทย จะเสนอให้  ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชนร่วมเป็นที่ปรึกษาในกรรมาธิการด้วย เพื่อจะได้มีส่วนร่วมแม้ว่า ร่างฉบับประชาชนจะถูกตีตกก็ตาม