ปกติเดือนเมษายนของทุกปี การไฟฟ้าจะได้รับร้องเรียน เรื่องค่าไฟแพงเป็นประจำ ส่วนการคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า คือ ถ้าใช้มากจะต้องเสียเงินมาก

นาย จาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ในฐานะโฆษก MEA ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวช่อง8 ถึงประเด็นร้อนคือเรื่องของค่าไฟ ที่แพงมากขึ้น จนผิดปกติ

#ทำไมช่วงนี้ ค่าไฟแพงขึ้นผิดปกติ?

ปกติในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีการร้องเรียน เรื่องค่าไฟแพงเป็นประจำทุกๆปี เหตุผลก็คือว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ที่ใช้ไฟเยอะที่สุด ก็คือ "เครื่องปรับอากาศ" เครื่องปรับอากาศกินไฟสูงที่สุดในบ้านและอุปกรณ์ตัวนี้จะกินไฟตามอุณหภูมิของอากาศ ช่วงฤดูร้อน อย่างเดือนเมษายน จะมีการใช้งานของเครื่องปรับอากาศหนักที่สุด เครื่องปรับอากาศมีหลายขนาด ขนาดใหญ่ๆ 20,000 BTU กินไฟชั่วโมงละประมาณ 11 บาท เครื่องเล็กที่สุด 9000 BTU กินไฟชั่วโมงนึงประมาณ 3 บาทกว่า เปิดวันละกี่ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ข้อนี้เป็นประเด็นที่หนึ่งที่ทำให้ค่าไฟในช่วงฤดูร้อนแพงกว่า

#การคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า คิดมานานแล้วหรือยัง? แล้วลักษณะของการคิดอัตราค่าไฟแบบก้าวหน้าเป็นอย่างไร

สำหรับอัตราค่าไฟฟ้า ผู้กำหนดอัตราค่าไฟ คือ คณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน เขาเป็นผู้ที่กำหนดอัตราค่าไฟในแต่ละประเภท อัตราค่าไฟ คิดแบบนี้มานานแล้ว ประเภทที่อยู่อาศัยกำหนดให้คิดอัตรา ในลักษณะของอัตราก้าวหน้า เพื่อต้องการที่จะส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน ถ้าใช้มากจะต้องเสียเงินมาก

หน่วยที่ 1-150 คิดหน่วยละ 2.50 สตางค์

หน่วยที่ 151 -400 คิดหน่วยละ 4.20 สตางค์ เพิ่มขึ้น 30%

หน่วยที่ 401 เป็นต้นไปคิดหน่วยละ 4.40 สตางค์ เพิ่ม 36%

นี่คือเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ค่าไฟ ทวีความแพงขึ้นไปอีก

#บ้านไม่มีแอร์มีเพียงพัดลม แต่ว่าค่าไฟก็ยังเพิ่ม

อุปกรณ์ทุกอย่างมีการกินไฟ แต่พัดลมไม่ได้ขึ้นกับอุณหภูมิ ขึ้นกับพฤติกรรมการใช้ไฟของเรา หากมีตู้เย็น ตู้เย็นก็ขึ้นกับอุณหภูมิ เพราะฉะนั้นในช่วงหน้าร้อน ตู้เย็นจะทำงานหนักกว่าในช่วงฤดูอื่นๆ ตู้เย็นที่เก่าๆ การไฟฟ้านครหลวง เคยเอาเครื่องมือไปวัด กินไฟเยอะพอๆกับตู้แช่ตามร้านสะดวกซื้อ อุปกรณ์ที่มีสภาพเก่าแก่ มันเป็นเทคโนโลยีรุ่นเก่า มันก็กินไฟ

#ถ้าเปิดแอร์ไปพร้อมกับพัดลม จะกินไฟมากกว่าเปิดแอร์เฉยๆหรือไม่

อันนี้ช่วยได้มาก การไฟฟ้าแนะนำให้เปิดแอร์ที่ 26-27 องศา แล้วเปิดพัดลมช่วย ประหยัดค่าไฟได้มาก

#มาตรการที่รัฐช่วยเหลือประชาชน ก็คือการลดค่าไฟให้ 3% แต่ช่วงนี้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นมาก หลังจากนี้ทางการไฟฟ้าจะมีการทบทวน มาตรการที่จะช่วยเหลือประชาชนหรือไม่

มาตรการของการไฟฟ้า ที่กำหนดไปมีถึง 6 มาตรการ คือ
1.มาตรการลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 3 สำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน รวมระยะเวลา 3 เดือน คิดเป็นจำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับการช่วยเหลือกว่า 3.9 ล้านราย เป็นจำนวนเงินกว่า 1,600 ล้านบาท
2.มาตรการขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าได้ 6 เดือน ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทโรงแรม และกิจการให้เช่าอาศัย โดยครอบคลุมค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน-พฤษภาคม คิดเป็นจำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับการช่วยเหลือกว่า 3,400 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 1,400 ล้านบาท
3.มาตรการคืนเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้า สำหรับกลุ่มบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก โดยเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://measy.mea.or.th เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา คิดเป็นจำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับการช่วยเหลือกว่า 3.8 ล้านราย เป็นจำนวนเงินกว่า 13,000 ล้านบาท
4.มาตรการผ่อนผันการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าอัตราขั้นต่ำ (Minimum Charge) ในกลุ่มกิจการขนาดกลาง-ใหญ่ โรงแรม โดยครอบคลุมค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 คิดเป็นจำนวนผู้ใช้ไฟที่ได้รับการช่วยเหลือกว่า 29,000 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 167 ล้านบาท
5.มาตรการค่าไฟฟ้าฟรีกับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5(15) แอมป์ (ประเภทที่ 1.1 ของการไฟฟ้านครหลวง) จาก 50 หน่วยต่อเดือนเป็น 90 หน่วยต่อเดือน ตามใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 (จำนวน 3 เดือน) ให้กับผู้ใช้ไฟจำนวนกว่า 205,000 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 74 ล้านบาท
6.ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 (15) แอมป์ (ประเภทที่ 1.1 ของการไฟฟ้านครหลวง) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิลสำหรับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 ให้กับผู้ใช้ไฟจำนวนกว่า 165,000 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 300 ล้านบาท

#มาตรการคืนเงินค่ามิเตอร์ให้กับประชาชน มีหลายๆคนยังไม่ได้เงินคืน

ตอนนี้ได้มีการแจกคืนกลุ่มใหญ่ 1,200,000 ราย ที่ลงทะเบียนได้ไปหมดแล้ว เหลืออีกกลุ่มเล็กน้อย กลุ่มที่ยังตกค้าง กลุ่มที่เป็นปัญหาเฉพาะตัว เช่น
1.ชื่อ-นามสกุล ไม่ตรง กับฐานข้อมูลเงินประกันของการไฟฟ้านครหลวง ทางการไฟฟ้ากำลังทยอยส่ง sms ไป เพื่อขอให้ท่านส่งหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนามสกุลมา
2.ลงทะเบียนไว้ว่าให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร แต่ปรากฏว่า ใช้เลขบัญชีธนาคารที่เป็นของคนอื่น ทางการไฟฟ้าไม่สามารถที่จะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของคนที่ไม่ใช่เจ้าของหลักประกันได้
3.เลือกให้โอนเงินทางพร้อมเพย์ไว้ แต่เป็นพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ บัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้ได้คือหมายเลขพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ถึงจะใช้ได้
4.ไม่ใช่ลูกค้าการไฟฟ้านครหลวง จะมีประชาชนเข้าใจผิดเยอะว่า ปริมณฑลมาลงทะเบียนที่การไฟฟ้านครหลวง ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงจะครอบคลุมกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ เพียง 3 จังหวัด มีลูกค้าเยอะทีเดียว ที่อยู่อยุธยาฯ ปทุมธานี นครปฐม แต่มาลงทะเบียนในการไฟฟ้านครหลวง คนข้างเยอะ

#หลายคนตั้งข้อสงสัย ค่าไฟที่มากขึ้น ซึ่งมากขึ้นกว่าทุกๆปี จะมีส่วนที่นำเงินส่วนหนึ่ง ไปช่วยเหลือเกี่ยวกับมาตรการ 5,000 บาทหรือไม่

เป็นไปไม่ได้ มาตรการที่รัฐบาลเยียวยาในเรื่องของโคลอีก 5,000 บาท มันคนละส่วนกับเรื่องของค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้น อ่านตามมิเตอร์แล้วก็จัดเก็บตามอัตราค่าไฟที่ประกาศ ในอัตราค่าไฟที่ประกาศไว้ชัดเจน เพราะฉะนั้นมันเป็นเงินคนละส่วนกันไม่เกี่ยวข้องกัน

 

รับชมลิ้งไลฟ์สัมภาษณ์ได้ที่ >>> https://www.facebook.com/thaich8news/videos/524865331528236/

ทำไม? ค่าไฟแพง! การคิดค่าไฟแบบอัตราก้าวหน้า คืออะไร?