สปสช.รวมงบ 4,280 ล้าน หนุนจ่ายให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีสิทธิบัตรทอง ฟรี! ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดกรองโรคจนไปถึงการพักฟื้น พร้อมเปิดโครงการ ส่งยาให้คนไข้ถึงบ้าน เพื่อลดการเดินทางมาพื้นที่เสี่ยง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สปสช.รวมงบ 4,280 ล้าน หนุนจ่ายให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีสิทธิบัตรทอง ฟรี! ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดกรองโรคจนไปถึงการพักฟื้น พร้อมจัดโครงการ ส่งยาให้คนไข้ที่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยง และลดระยะห่างทางสังคม ประชาชนคนที่ไม่ได้เป็นโควิด-19 ที่อายุเยอะเป็นโรคเรื้อรัง สามารถติดต่อมาที่โรงพยาบาล เพื่อโรงพยาบาลประเมิณ ว่าสามารถส่งยาให้คนไข้ที่บ้านได้หรือไม่ หากคนไหนไม่จำเป็นต้องมา ก็นำส่งยา ทางไปรษณีย์ EMS ให้คนไข้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ บรรจุโรคโควิด-19 ในสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ที่ทางรัฐบาลเป็นคนจ่ายให้ โดยงบประมาณค่ารักษาผู้ป่วยโควิด-19 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) มีจำนวน 1,020 ล้าน (เป็นเงินที่เหลือจากการประหยัดหลังการซื้อยาเวชภัณฑ์ ) บวกกับงบกลางจากรัฐบาลที่มอบให้ จำนวน  3,260 ล้าน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,280 ล้าน ซึ่งงบประมาณจำนวนนี้ จะแบ่งการใช้เป็น 2 ส่วน
-ส่วน 1 การรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยที่มีสิทธิบัตรทอง
-ส่วน 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคโควิด-19  รวมถึงการตรวจคัดกรอง

พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษกลุ่มภารกิจบริหารกองทุน  เผยถึง ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองจะได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุมหากป่วยโควิด-19 โดยแจกแจงค่าใช้จ่าย ดังนี้

1.ค่ายารักษาโรค จะจ่ายเพิ่มเติมให้สำหรับยารักษาโควิด-19 โดยเฉพาะ จำนวน  7,200 บาทต่อครั้ง

2.ค่ายานพาหนะ สำหรับส่งต่อผู้ป่วย ,ค่าเจ้าหน้าที่นำส่งที่สวมชุด PPE ไม่เกิน 3,700 บาทต่อการส่งต่อผู้ป่วย ต่อครั้ง

3.ค่าตรวจคัดกรองเชื้อโคโรนา2019 หากเป็นคนไทย ไม่เฉพาะผู้มีสิทธบัตรทอง (แค่มีเลขบัตร ปชช.13หลัก )ก็สามารถตรวจฟรีได้ หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและเข้าเกณฑ์ที่ป่วยเป็นโควิด-19  ซึ่ง ค่าใช้จ่ายสำหรับตรวจในห้องปฏิบัติการ จำนวน 3,000บาทต่อครั้ง และค่าคัดกรอง 540 บาท

4.สำหรับค่าใช้จ่าย หากใช้บริการห้องความดับลบ คิดเป็นวันละ 2,500 บาท ต่อคนต่อวัน

5.หากผู้ป่วยสิทธิบัตรทองอาการดีขึ้น แล้วถูกส่งตัวไปพักฟื้นที่ โรงแรมห้องพักที่รัฐจัดให้ ก็จะออกค่าใช้จ่ายให้เช่นเดียวกัน

6.รวมถึงหากผู้ป่วยสิทธิบัตรทองต้องรับยาผ่านทางไปรษณีย์ก็จะดูแลค่าใช้จ่ายให้ ซึ่งขณะนี้มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมกว่า400แห่งแล้ว

โดยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง สามารถเบิกจ่ายได้ ตั้งแต่วันที่รับบริการ 2 มี.ค. 63 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประชาชนที่มีสิทธิในกองทุนบัตรทองรวม48ล้านคน


ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. และโฆษก สปสช. กล่าวถึง กรณีบุคลากรทางการแพทย์ที่จะได้รับค่าชดเชย หากได้รับผลกระทบจากการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ใน 3 กรณี

คือ 1. กรณีเจ็บป่วยทั่วไป จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 200,000บาท 

2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการจะได้รับค่าชดเชย ตั้งแต่ 200,000-480,000บาท

3.กรณีเสียขีวิตหรือทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังจะได้รับค่าชดเชย 480,000-800,000 บาท

สปสช.รวมงบกว่า 4 พันล้าน หนุนผู้ป่วยติดโควิด-19 สิทธิบัตรทอง รักษาฟรี!