รัฐบาลเล็งเก็บภาษีความหวานกับผู้ประกอบการ อ้างแก้ปัญหาคนไทยติดหวาน ครอบคลุมทั้ง น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังและเกลือแร่ น้ำผลไม้และน้ำพืชผัก ขีดเส้นให้ผู้ประกอบการปรับลด 16 ก.ย.2560-30 ก.ย.2562 รายใดปรับช้าจะเก็บแบบอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป

นายณัฐกร อุเทนสุต ผอ.สำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต ระบุว่า มาตรการหนึ่งที่ภาครัฐบังคับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาคนไทยติดรสหวาน คือการจัดเก็บภาษีความหวาน โดยมีเกณฑ์ว่า หากผสมน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัม และ 10 ต่อ 100 มล. จะเก็บภาษีไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และ 25 ของราคาขายปลีก ตามลำดับโดยเครื่องดื่มที่เสนอจัดเก็บภาษีประกอบด้วย น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังและเกลือแร่ น้ำผลไม้และน้ำพืชผัก เครื่องดื่มชนิดผง เครื่องดื่มชนิดเข้มข้น ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงเครื่องดื่มที่หวานตามธรรมชาติ ไม่ได้ใส่น้ำตาลเพิ่มด้วย เพราะก็สามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากน้ำตาลได้เช่นกันส่วนแนวทางในการจัดเก็บภาษีความหวานนั้น จะให้ผู้ประกอบการเริ่มปรับเปลี่ยนส่วนผสมของน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ของตนเอง 2 ปี คือ 16 ก.ย.2560-30 ก.ย.2562 ถ้าหากทำได้ จะให้สิทธิผู้ประกอบการในการเสียภาษีเท่าเดิม แต่ถ้ารายใดปรับได้ช้ากว่านั้น จะเริ่มจัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 1 ต.ค.2562 เป็นต้นไป

โดยสาเหตุที่วางมาตรการด้านภาษีความหวานขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ทั้งผู้ผลิตที่คิดส่วนผสมของเครื่องดื่มต่างๆ หันมาปรับสูตรใส่น้ำตาลน้อยลง ซึ่งเป็นการปรับตั้งแต่ต้นทาง เพื่อที่ได้ประโยชน์ทั้งตัวผู้ประกอบการที่เสียภาษีลดลง และผู้บริโภคที่มีเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพมากขึ้น ผอ.สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สำหรับ ตลาดเครื่องดื่มในไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งหนึ่งปัจจัยหลักจากการเติบโตนี้มาจากเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เนื่องจากคนไทยติดการทานหวาน โดยเทียบได้จากสถิติที่จำนวนคนเป็นโรคหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 รวมถึงจำนวนผู้มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2557 ภาครัฐจึงต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้หันมาลดการทานหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น