5 ปี แรงงานไทยกว่า 522 คน เสียชีวิตในเกาหลีใต้แบบไร้สาเหตุ ตั้งแต่ปี 2015 บางคนต้องเจ็บป่วยจนเสียชีวิต โดยไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุข

มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ รายงานว่า มีแรงงานไทยกว่า 522 คน เสียชีวิตในประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี 2015 โดยผู้เสียชีวิตถึง 84% ไม่พบเอกสารประกอบการทำงานอย่างถูกต้อง และ 4 ใน 10 ของผู้เสียชีวิต ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิต ขณะที่รายอื่นๆ เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ อุบัติเหตุและการฆ่าตัวตาย

ซึ่งในปีนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่งสูงถึง 122 คน ส่วนตั้งแต่ปี 2015-2018 มีแรงงานไทยเสียชีวิตถึง 283 โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตในสถานที่ทำงานหรือที่พัก แต่กลับไม่มีการรายงานผลการชันสูตรศพออกมาให้ทราบ ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตแบบไร้สาเหตุขณะนอนหลับ แต่กลับไม่มีรายงานเข้ามาทางหน่วยงานรัฐ เนื่องจากเกรงว่าจะถูกเนรเทศออกจากประเทศ

ขณะที่มีรายงานว่า แรงงานหลายหมื่นคนต้องทำงานหนักเกินเวลากฎหมายกำหนด แถมยังต้องทำงานในสถานที่สกปรก และยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุข หากแรงงานต่างชาติเจ็บป่วยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาและผ่าตัดประมาณ 274,200 บาท หรือ 10 ล้านวอน ทำให้หลายคนที่เจ็บป่วยต้องทนทรมานจนกว่าจะเสียชีวิต

ด้าน the Namyangju City Migrant Welfare Center ยืนยันว่า ทางรัฐบาล ได้ให้การเข้าถึงระบบสาธารณสุขฟรีกับแรงงานผิดกฎหมาย แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้การให้บริการติดขัด

ขณะที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกปกปิดและกำลังเฝ้าจับตาดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นกับแรงงานชาวเนปาล อินโดนีเซีย และเวียดนามที่เสียชีวิตโดยไร้สาเหตุ

ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีใต้ ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลในเรื่องนี้ เช่นเกียวกับสถานทูตไทยในสาธารณรัฐเกาหลีใต้
แต่ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศของไทย รายงานว่ามีแรงงานที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายกว่า 460,000 คนทำงานที่เกาหลีใต้ และยังเป็นประเทศอันดับต้นๆ ที่คนไทยต้องการไปทำงาน เนื่องจากได้ค่าตอบแทนมากกว่าที่ไทย หรือมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 33,000 บาท หรือเกือบ 3 เท่าของเงินเดือนต่ำสุดที่ไทย

โดยคนที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายผ่านการจ่ายเงินกับนายหน้า จะถูกเรียกว่า ผีน้อย ซึ่งทางรัฐมนตรีว่าการกรทะรวงการต่างประเทศของไทยพยายามติดตามสถานะของพวกเขา แต่ยังเป็นเรื่องยากที่จะติดตาม

มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ ยังได้พูดคุยกับแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีใต้ โดยส่วนใหญ่ระบุว่า ค่าจ้างที่ได้รับน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่นี่ แถมยังต้องทำงานเกินเวลา ในสถานที่สกปรกและอันตราย

ขณะที่นิด เล่าว่า เธอเข้ามาทำงานตั้งแต่ปี 2016 โดยการจ่ายเงินผ่านนายหน้าถึง 100,000 บาท ต้องทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดโมเทล 15 ชั่วโมงต่อวัน และมีวันหยุดเพียง 1 วันต่อเดือน ทำให้เธอล้มป่วยและไม่สามารถทำงานได้นานถึง 4 เดือน จนคิดว่าเมื่อใดที่นอนหลับแล้วจะไม่ตื่นขึ้นมาอีก เธอจึงติดต่อสถานทูตไทยในเกาหลีเพื่อขอส่งตัวกลับ แต่กลับได้คำตอบว่าต้องรอคิวกว่า 10,000 คน

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเกาหลีใต้ ยืนยันกับ มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ ว่าแรงงานไทยผิดกฎหมายสามารถเดินทางกลับประเทศได้ช่วงสถานการณ์โควิดโดยไม่มีความผิดโดยมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทย กล่าวว่า แรงงานผิดกฎหมายเหล่านั้นจะอยู่นอกการคุ้มครองจากกฎหมาย ที่ผ่านมารัฐบาลไทยพยายามหามาตรการป้องกันแรงงานผิดกฎหมาย ทั้งทำวิดีโอให้ความรู้ และป้องกันและปราบปราม แต่ทางนักสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน กล่าวว่า มันไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลไทยไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง และยังเอื้อต่อการทำงานผิดกฎหมายในต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีแรงงานชายชาวไทย อายุ 51 ปี ไม่ประสงค์ออกนาม เล่าว่า เขาต้องจ่ายเงินถึง 120,000 บาท ให้กับนายหน้าในปี 2014 เพื่อแลกกับการหางานที่เกาหลีใต้ โดยเขาถูกส่งไปทำงานในฟาร์มเลี้ยงหมู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแดกู โดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีวันหยุด อีกทั้งยังไม่ได้รับค่าจ้างหลังจากทำงานไปได้ 3 เดือน เขาจึงตัดสินใจหนีออกมา โดยเขียนข้อความเตือนคนอื่นๆไว้ที่พนังหัวเตียงนอน