"กองทัพบก" แจงงบงบจัดซื้อรถยานเกราะสไตร์เกอร์ ติดอาวุธ 50 คัน เป็นงบผูกพันข้ามปี 63-65 ชี้ ยกเลิกไม่ได้ แต่ปรับลดลง 50% โว ! กลาโหมโอนเงินเข้างบกลางช่วยโควิดมากที่สุด กว่า 18,000 ล้านบาท ขู่ดำเนินคดีเพจทำกองทัพเสียหาย

พันเอกวินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก แถลงข่าวกรณี ถึงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารของกรมสรรพวุธการเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถยานเกราะสไตร์เกอร์ ติดอาวุธ 50 คัน วงเงินงบประมาณ 4.5 พันล้าน ว่า การจัดซื้อดังกล่าวเป็นโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร Foreign Military Sales -FMS จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่เข้าสภาคองเกรสของสหรัฐเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยเป็นโครงการผูกพันธ์งบประมาณปี 2563-2565 / ในปี 2563 เดิมตั้งวงเงินในการจัดซื้อ 900 ล้านบาท แต่ขณะนี้ถูกปรับลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 450 ล้านบาทเท่านั้น พร้อมชี้แจงด้วยว่า จัดซื้อรถเกราะสไตร์เกอร์ ในวงเงินรวม 4,500 ล้านบาท ไม่ใช่เพียง 50 คัน ตามที่มีการเผยแพร่ออกไป เพราะทางสหรัฐจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม และเปล่าอีกจำนวนหนึ่ง รวมแล้วไทยจะได้รับกว่า 100 คัน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลืออื่น เช่น รถติดปืนขนาด 120 มม. รถพยาบาล , รถผู้บังคับบัญชา , และโครงการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงต่างๆ 

ขณะเดียวกันพ.อ.วินธัย ยังเปิดเผยว่า กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาปรับลดงบประมาณเพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในช่วงการแก้ปัญหาโควิด รวมทั้งสิน 18,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับกระทรวงอื่นๆ และในจำนวนนี้เป็นงบของกองทัพบกหน่วยเดียวเกือบหมื่นล้านบาท โดยในการพิจารณาของทบ. ได้เลื่อนดำเนินโครงการที่ไม่ผูกพันธ์ทั้งหมด 26 โครงการ ออกไปก่อน ส่วนโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นงบผูกพันธ์ จำนวน 4 โครงการ ถูกปรับลดงบปี 2563 ลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งรวมถึงการจัดซื้อรถรถเกราะสไตร์เกอร์ 

อย่างไรก็ตาม โฆษกกองทบ. ยังชี้แจงว่า เอกสารของกรมสรรพาวุธทหารบกที่มีการเผยแพร่ออกไปนั้น เป็นการพูดถึงยอดเงินทั้งโครงการ และยอมรับว่าทีมโฆษกทบ. บกพร่องที่ไม่มีการออกมาชี้แจงถึงกรณีนี้ เนื่องจากรายละเอียดมีเยอะ และต้องใช้เวลา พร้อมนำไปปรับปรุงต่อไป 

ด้านพันเอกหญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก ระบุว่า การปรับลดงบประมาณอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนากำลังพลของกองทัพบก แต่ยินดีที่จะปรับลดงบประมาณ และบริหารจัดกานงบที่มีอยู่ให้เต็มกำลังความสามารถ ขอให้เชื่อมั่นส่ากองทัพบก ยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ 

พร้อมมองว่าข้อมูลในโซเชียลปัจจุบันมีความเปราะบาง เนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในสถานการที่ประชาชนมีความเดือดร้อน อ่อนไหว อีกทั้งยังมีการแสงดความเห็นต่อว่าผู้บริหารระดับสูง จึงขอให้เบาๆลง เพราะกองทัพบกไม่อยากดำเนินการทางกฎหมาย เช่น เพจบางเพจที่นำข้อมูลไม่เป็นความจริงไปเผยแพร่ และสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อกองทัพโดยเฉพาะการกล่าวเรื่องตัวเลข