เปิดไทม์ไลน์ "จิตรลดา" ผู้ป่วยจิตเภท ก่อเหตุแทงเด็กเสียชีวิต หลังเคยบุกโรงเรียนไปทำร้ายเด็กเมื่อปี 48

จิตรลดา ตันติวณิชยสุข หรือ เป็ด มีอาการป่วยจิตเภทเรื้อรัง ตั้งแต่อายุ 20 ปี ขาดการรักษา

- ปี 36 รักษาอาการทางจิตครั้งแรก ที่ รพ.นิติจิตเวช แล้วหยุดการรักษาไป
- ปี 44 กลับมารักษาอีกครั้ง ที่ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา ก่อนจะขาดการรักษาไปอีกครั้ง

- 9 กันยายน 2548 ก่อเหตุบุกเข้าไปแทงเด็กนักเรียนภายในโรงเรียนเซนต์โยเซฟได้รับบาดเจ็บ 4 คน
- 10 กันยายน 2548 ตำรวจตามจับกุม จิตรลดาได้
- 13 กันยายน 2548 เจ้าหน้าที่ตำรวจส่ง "จิตรลดา" เข้าพบจิตแพทย์ และรักษาตัวที่ รพ.กัลยาราชนครินทร์

- 20 พฤศจิกายน 2551 ศาลชั้นต้น ตัดสินจำคุก 8 ปี  เพราะ เชื่อว่าขณะจิตรลดาก่อเหตุ รู้ตัวและมีสติดี เนื่องจากมีการวางแผนก่อนก่อเหตุ และวางแผนการหลบหนี แต่จิตรลดา สารภาพ ลดโทษเหลือ 4 ปี ไม่รอลงอาญา หลังจำคุกเสร็จสิ้นให้ส่งรักษาตัวต่อที่ โรงพยาบาลกัลยาราชนครินทร์ จนหาย และศาลสั่งให้แพทย์รายงานอาการทุก 6 เดือน

- 1 สิงหาคม 2556 โรงพยาบาลกัลยาราชนครินทร์ ปล่อยตัวจิตรลดา ให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน
-29 มีนาคม 2562 จิตรลดา อาการกำเริบ ใช้มีดแทงเด็กหญิง 5 ขวบเสียชีวิต

ร.ต.อ.สมคิด โพธิ์ขาว รองสารวัตสอบสวน ส.ภ.นครชัยศรี ได้รับแจ้งเหตุว่า มีเด็กผู้หญิงถูกแทงที่ท้องที่เกิดเหตุเป็นเพิงขายของ ม.4 ต.วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จึงเดินทางไปตรวจสอบที่โรงพยาบาลนครชัยศรีก่อน พบว่าเด็กที่ถูกแทงอาการสาหัส ต้องนำตัวส่งต่อไปที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม 

ย่าเด็ก ให้การว่า ขณะนั้นตนเองนอนอยู่กับหลานสาวที่แคร่ไม้ภายในร้าน จากนั้นก็มีลูกค้าเข้ามาสั่งข้าวกล่อง 1 กล่อง จึงได้ลุกขึ้นไปทำข้าวให้ลูกค้า ส่วนหลานสาวก็ยังนอนอยู่ที่เดิม ไม่นานลูกค้าคนดังกล่าวก็เดินเข้าไปภายในร้าน แล้วก็ใช้มีดแทงหลานสาวที่กำลังนอนอยู่ จนหลานสาวส่งเสียงร้องดังลั่นร้าน ตนจึงได้วิ่งมาก็พบว่าหลานสาวถูกแทงไปแล้ว พลเมืองดีที่อยู่ติดกับร้าน ได้ยินจึงได้วิ่งมาดูแล้วนำตัวหลานสาวไปส่งที่โรงพยาบาลห้วยพลู แต่ทางโรงพยาบาลห้วยพลูดูแล้วอาการหนัก จึงได้ส่งต่อมาโรงพยาบาลนครชัยศรีอีกทีหนึ่ง แต่เนื่องจากว่าโรงพยาบาลนครชัยศรีจำเป็นต้องส่งต่อให้โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม เด็กเสียชีวิตในเวลาต่อมา

โรคจิตเภท เป็นโรคความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างประสาทหลอน หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ โดยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อควบคุมอาการไปตลอดชีวิต

เปิดไทม์ไลน์ตั้งแต่ปี 48 "จิตรลดา" ผู้ป่วยจิตเภท ก่อเหตุแทงเด็กเสียชีวิต