อาจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรฯ เตือนพบพลาสติกขนาดเล็ก ในปลาทู ที่อยู่ในทะเล หากคนกินเข้าไป เสี่ยงต่อหลายโรค

หลังจากที่มีข่าวว่า พบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 78 ชิ้น ต่อ "ปลาทู" 1 ตัว จากการเก็บตัวอย่าง ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ทำให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เดินทางไปยังทะเลแห่งหนึ่งในไทย เพื่อดำน้ำเก็บตัวอย่างขยะมาทดลอง ปรากฏว่า พบขยะกองอยู่ตามแนวประการังจำนวนมาก จนน่าตกใจ  มีทั้งถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก โฟม กระป๋องน้ำอัดลม และอื่นๆอีกมาก โดยได้นำเครื่องมือเก็บไมโครพลาสติก ลากไปในทะเลดังกล่าว และนำมากรองใส่ขวด จะเห็นเม็ดเล็กๆ ที่ก้นขวด นั่นคือไมโครพลาสติก ที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร  ช

ผศ.ดร.ธรณ์ เปิดเผยกับทีมข่าวช่อง 8 ว่า ไมโครพลาสติกในท้องปลาทูนั้น มาจากถุงพลาสติก ที่กร่อนแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก ลอยอยู่ในน้ำ ซึ่งปลาทูกินแพลงก์ตอนในน้ำเป็นอาหาร ก็เท่ากับว่า กินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย จากนั้นก็ไปอยู่ในท้อง บางส่วนสลายตัวกลายเป็นนาโนพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ประมาณ 100 ไมครอน ทำให้เข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อปลา ซึ่งหากคนกินสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป ก็อาจเป็นสาเหตุเสี่ยงต่อหลายโรค 

ผศ.ดร.ธรณ์ บอกอีกว่า ไม่เพียงแต่จะพบไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลเท่านั้น วัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ปรุงอาหารก็มีเช่นกัน เช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว รวมถึงเกลือ ก็มีกรรมวิธีการผลิตมาจากทะเล ซึ่งทะเลมีสารปนเปื้อนจากพลาสติก ทำให้ผู้คนไม่อาจเลี่ยงการกินอาหารปนเปื้อนจากไมโครพลาสติกได้ มีนักวิจัยทั่วโลก ทำวิจัยออกมาว่า ผู้ที่กินสารที่เกิดจากพลาสติกเข้าไป อาจก่อให้เกิด โรคมะเร็ง, ภูมิแพ้ ,หรือปัญหาการสร้างภูมิคุ้มกันได้

"ดร.ธรณ์" เผยวิกฤตห่วงโซ่ขยะพลาสติก จากปลา สู่ คน