"วิญญัติ" ร้อง กกต. ยุบพรรคพลังประชารัฐ กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมค้านการประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

วันที่ 15 ก.พ. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ หรือ สกสส. พร้อมคณะทำงาน เดินทางเข้ายื่นร้องเรียนต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้พิจารณาไต่สวนยุบพรรคพลังประชารัฐ เนื่องจากกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคัดค้านการประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เหตุเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและได้ค่าตอบแทน

โดย นายวิญญัติ กล่าวว่า ในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เราเห็นบุคคลหลายฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นบุคคลภายนอกพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาที่ตนนำมายื่นคำร้องต่อ กกต. ในวันนี้ ซึ่งมี 2 คำร้อง ประกอบด้วยคำร้องที่ 1 ขอให้ กกต. พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชารัฐใน 4 ประเด็นคือ การเริ่มต้นจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐมีบุคคลที่เป็นตัวแทน ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์ส่อไปในทางที่ ไม่สุจริตในการจัดตั้งพรรค, มีบุคคลภายนอกเข้าครอบงำการจัดตั้งพรรคโดยเรียกรับผลประโยชน์เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง, มีการใช้ตำแหน่งหรือความเป็นเจ้าหน้าที่รัฐของอดีตรัฐมนตรีก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่ง เอื้อประโยชน์เป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้สมัครหรือพรรคการเมือง และประเด็นสุดท้าย พรรคพลังประชารัฐกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เนื่องจากเห็นว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ซึ่งเป็นหัวหน้า คสช. เข้ามาปกครองประเทศด้วยวิธีพิเศษ ถือว่าไม่ได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย

อีกทั้งยังยินยอมให้พรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ดังนั้น ทั้ง 4 ประเด็นย่อยในคำร้องที่ขอให้ยุบพรรคนั้นเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างเชื่อได้อย่างชัดเจน และเป็นที่ยุติทางสังคมและหากการพิจารณาของ กกต. เห็นตรงกันขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคพลังประชารัฐต่อไป

นายวิญญัติ ยังกล่าวต่ออีกว่า สำหรับคำร้องที่ 2 ข้อคัดค้านการประกาศชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ตามมาตรา 88 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากทั้งก่อนและหลัง ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง พล.อ.ประยุทธ์เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ รับเงินและมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า คสช. และเป็นกรรมการบริหารในหลายองค์กรของรัฐ ดังนั้นงบประมาณแผ่นดินที่จ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทน คือหลักฐานที่บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ คือเจ้าหน้าที่รัฐ

ทั้งนี้ การเสนอเจ้าหน้าที่รัฐให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะต้องไม่มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 นอกจาก พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องให้ความยินยอมแล้ว กรรมการบริหารพรรคและ กกต. ต้องตรวจสอบด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ดังนั้นการประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเชื่อว่า กกต.จะใช้มาตรฐานเดียวกันในการพิจารณา

สำหรับคำร้องและพยานหลักฐานที่ปรากฏ ประกอบกับพยานบุคคลที่ตนจะอ้างในอนาคต หาก กกต. ต้องการ ก็คิดว่ามีพยานหลักฐานที่เพียงพอ ดังนั้นหาก กกต. รับเรื่องแล้วใช้วิธีการประวิงหรือหาทางออกให้กับพรรคพลังประชารัฐในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามครรลองถือว่า กกต. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

และถ้าหากมีการกล่าวหา ว่าการมายื่นคำร้องในวันนี้เป็นการสวนกลับของพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่นั้น ตนยืนยันว่ามาในฐานะประชาชนที่ไม่ยอมให้มีพฤติกรรมหรือการกระทำใดๆ ที่เอารัดเอาเปรียบทางการเมือง แต่หากจะ