ฮือฮา! ศูนย์วิจัยโคราชจีโอพาร์ค ค้นพบปลากินเนื้อสายพันธ์โบราณภัทราชัน อายุกว่า 115 ปี เตรียมเข้าสู่การค้นพบเป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์หายาก

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดซาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศาสตราจารย์ ดร.อานรรต ใจสำราญ รองอธิการบดีฝ้ายกิจการสภามหาวิทยาลัย กิจการพิเศษและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม sistant Professor Dr. Paul Joseph Grote นักวิจัย สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ค้นพบฟอสซิลปลาดังกล่าว เป็นปลากระดูกแข็งก้านครีบอ่อน คล้ายสกุลเอเมีย (Amia) แต่งสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คณะผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า ปลาภัทราชัน

โดยผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการโคราชจีโอพาร์ค เปิดเผยว่า สำหรับฟอสซิลปลาดังกล่าว เป็นปลากระดูกแข็งก้านครีบอ่อน คล้ายสกุลเอเมีย (Amia) แต่สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คณะผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า "ปลาภัทราชัน" หรือชื่อวิทยาศาสตร์ โคราชเอเมีย (Khoratoria phottharojan) ซึ่งเป็นปลาที่มีอายุกว่า 115 ปี เป็นปลากินเนื้ออยู่อาศัยยุคเดียวกันกับที่ไดโนเสาร์ได้อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งการค้นพบนั้นได้ค้นพบที่บริเวณบ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครรราชสีมา ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่มากในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขุดพบซากฟอสซิล ส่วนความหมายของชื่อคือเป็นการเทิดพระเกียรติแค่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ที่เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงเชี่ยวชาญเรื่องปลาและรักปลา จึงได้ชื่อว่า ภัทรราชัน อันหมายถึง "พระภัทรมหาราช" ที่ประชาชนถวายพระราชสมัญญานามแด่รัชกาลที่ 9